วันจันทร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2552

วันพุธที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2552

Online Resources for sample size calculation เก็บของดีมาฝาก

ช่วงนี้พอดีค้นคว้าเกียวกับการคำนวณ Sample size หลาย ๆ ชนิดทั้ง Cross over, parallel หรือ Clusters การคำนวณหา Sample size มีหลายวิธีทั้งจาก mean, SD , Prevalence(ในกรณีที่เป็น survey study) หรือ equality/superiority sample size calculation ฟังดูงงดีใช่ไหมครับ เอาไว้วันหลังจะรวบรวมมาย่อยให้ฟังกันอีกที วันนี้จะ post website ที่ใช้คำนวนรวมถึงมี program ที่ให้ download ฟรี ๆ ให้น้อง ๆ หรือพวกเราเข้าไปใช้ แต่เน้นนะครับต้องเข้าใจหลักการก่อน อาจจะเริ่มจากการคำนวณมือให้เข้าใจก่อนก็ได้ เอาล่ะ มีที่น่าสนใจดังนี้ขอรับ(ก่อน...จะลืมไปซะก่อน จาก alzimer)

Sample size calculation:


1.http://www2.warwick.ac.uk จะมีโปรแกรมฟรีชื่อ PS ขนาด 3.3 MB ของ Vanabilt University ใช้ดีครับเป็น .exe ลงเครื่องได้เลย ปัจจุบันถึง version 3 ครับ(
Power and Sample Size (PS version 3.0.2) อันนี้เป็นที่นิยม
2.http://stat.uiowa.edu/~rlenth/Power/ อันนี้เป็น JAVA program based ครับในเครื่องต้องลง JAVA ด้วย แต่ดีครับมีหลาย ๆ วิธี น้อง ๆ สามารถ download file
piface.jar มาลงในเครื่องได้ครับ
3.http://www.sealedenvelope.com/power.php อันนี้เป็นอีกตัวนึงน่าสนใจ เป็น online based ครับ มีทั้งการคำนวณแบบ superiority และ equivalence ทั้ง outcome แบบ binary และ continuous outcome ครับ
4.http://www.quantitativeskills.com/sisa/calculations/samsize.htm อันนี้เป็น online base
5.http://www.ezsurvey.com/samplesize.html ของ Roasoft เป็น online sample size calculator มีคำอธิบายสั้น ๆ ให้ด้านขวาด้วย ใช้ไม่ยากมากครับ

แถมตัว random-allocation ดี ๆ สักสองสามอันครับ
:

1.http://www.graphpad.com/quickcalcs/randomize2.cfm เป็น allocation โปรแกรมที่ใช้ง่าย step by step สามารถทำ block randomized ได้ด้วย หรือเข้าไปที่นี่ก็ได้ครับ http://www.graphpad.com/quickcalcs/randomN1.cfm

2.http://www.jerrydallal.com/random/permute.htm เป็น random allocation ทั้งแบบ block และ sequence โดยมี seeding เป็นตัวกำกับ เพื่อ maintain centrally randomization ครับ
3.http://www.random.org/ อันนี้สำหรับคนที่ชอบสร้าง code และ modify นิดหน่อยง่ายดี มีการเก็บ sequence ให้ด้วย แต่ต้องเสียตังเพิ่ม
พิจารณาเลือกดูแล้วกันครับ เพราะเป็น free program ถ้าจะใช้ของมาตรฐานเช่น inquiry หรือ STATA ต้องเสียตังเองนะครับแต่ทั้งสองตัวหลังนี้ก็ใช้เป็นตัวมาตรฐานเช่นกันครับ

อาจารย์ นพ.ศักดา อาจองค์, พบ., บธบใ
SAKDA ARJ-ONG, MD, BBA
PHD program of clinical epidemiology,
Pediatrist, Pediatric Cardiologist & Intervention Ped.Cardiology
Family physicians, Emergency physicians.
Emergency Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University

T ใน PICOT ความหมายในความหมาย ?

สำหรับ PICOT :
P : Patient/Population
I : Intervention (eg. Drug, interventions, treatment or behavioral modification etc..)
C : Comparative
O : Outcome of Interest
T : Time & Method
สำหรับ T:Time เพิ่มเติมนะครับ หลังจากไปค้นเพิ่มเติม มา update กัน Time อาจหมายถึง Time ในการวัด outcome of interest ก็ได้ครับ เช่น เราต้องการวัด interest outcome ของการเกิดโรคที่ 2, 4 และ 6 เดือน โดย outcome ที่ได้จะเป็นอะไรก็ได้(dichotomous outcome หรือ continuous outcome ก็ได้) หรือจะระบุว่าเป็น end of interest outcome ก็ได้ เช่นต้องการศึกษาอัตราการตายที่เมื่อการดำเนินโรคผ่านไป 5 ปี โดยสนใจ dead และ survive ก็ได้ครับ ส่วน expert บางท่านหรือบาง paper ก็ให้ใช้ระยะเวลาของการศึกษาก็ได้ เช่นกัน ไม่ผิดครับ(เหมือนในตัวอย่าง) อ่านไปอ่าน มาผมคิดว่าน่าจะใส่ให้ละเอียดทั้งสองอันเลยน่าจะชัดเจนกว่าครับ ชัวร์ดี

อาจารย์นายแพทย์ ศักดา อาจองค์, พบ, บธบ.
SAKDA ARJ-ONG, MD, BBA
PHD program of clinical epidemiology,
Pediatrist, Pediatric Cardiologist & Intervention Ped.Cardiology
Family physicians, Emergency physicians.
Emergency Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University

บทนำ...จริงจริง

เล่าถึงที่มาที่ไปของ Web Blog นี้ก็เพราะได้มีเวลาหลังจากเสร็จงานยุ่ง ๆ ถึงได้มีโอกาสได้คุยกับ Pawin's Blog ว่าน่าจะช่วยกันสร้างชุมชนของคนที่สนใจใน Clinical Epidemiology เพื่อมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน เพราะว่า Blog/Website ที่เป็นเชิง Clinical ของแพทย์หรือบุคลากรทางสาธารณสุขเรานั้นยังมีค่อนข้างน้อย เพื่อที่ จะได้ช่วยกันขยายความเข้าใจในวงกว้างได้มากขึ้น จะได้มากหรือน้อยแค่ไหน ขึ้นกับแรงและเวลาแล้วล่ะครับ....:)



อาจารย์นายแพทย์ ศักดา อาจองค์, พบ, บธบ.
SAKDA ARJ-ONG, MD, BBA
PHD program of clinical epidemiology,
Pediatrist, Pediatric Cardiologist & Intervention Ped.Cardiology
Family physicians, Emergency physicians.
Emergency Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University