วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2552

Program Dictionary ฟรี Highlight คำแล้วแสดงผลให้เห็นทันที น่าสนใจแบบนี้ มีที่ไหน ?

บทความนี้ติดพันเกี่ยวเนื่องจาก RMP(Rama Plus Magazine) ฉบับ ก่อน เพราะผู้อ่านหลายท่านได้เมลล์มาถามถึงโปรแกรมดิกชันนารีที่ดี ๆ และฟรี ว่าอาจารย์ แนะนำตัวไหน ของเดิมส่วนใหญ่ที่ถามกันจะมักใช้เป็นของ Thai software Dictionary กันเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเวลาแปล ต้องกลับไปเปิดหน้าโปรแกรมซึ่งค่อนข้างไม่สะดวก เพราะอยู่คนละหน้าต่างกัน ฉบับนี้ ผมก็เลยมาแนะนำ Dictionary ตัวโปรดของผมเลย ซึ่งมีสองโปรแกรมที่ใช้บ่อย ๆ ที่ฟรี และสะดวกใช้เนื่อที่ค่อนข้างน้อย และเวลาเรา Highlight มันจะขึ้นคำแปลมาให้เลย ฉบับบนี้ขอแนะนำแค่โปรแกรมเดียวก่อนครับ โปรแกรมที่ว่านี้คือ Highlight Dictionary version 2.3 ขนาดของโปรแกรมไม่ใหญ่มากนักราว 6.26 MB แล้วฉบับหน้าถ้ามีเวลาผมจะมาแนะนำอีกอันที่เหลือนะครับ

1. เริ่มกันที่เราต้องเข้าไปที่ Web ที่ผมเตรียมไว้ให้ก็ได้ครับสะดวกดี ไปที่ http://statidea.blogspot.com/ แล้วไปมองหาที่เมนูซ้ายมือที่หัวข้อ Programs แล้ว Double click ที่ Highlight dictionary 2.3 (freeware) ดังภาพ หรืออาจ ค้นหาใน Google ก็ได้เช่นกันครับ



จะเห็นว่าเป็นโปรแกรมฟรี ใช้ได้กับ Window ตระกูลต่าง ๆ เป็นส่วนใหญ่นะครับ ถ้าใครใช้ Linux รู้สึกผมจะยังไม่เห็นมีนะครับ พอดับเบิ้ลคลิก เราก็ save ตัวโปรแกรมไว้ในคอมของใครของมัน Folder ไหนแล้วแต่ใจชอบครับ




หลังจากนั้นก็ติดตั้งจะไว้ที่ C:/program หรือ D:/program ก็ได้ครับไม่แตกต่างกัน ผมชอบไว้ที่ D: จะได้ไม่กวนการทำงานโปรแกรมหลัก พอลงเสร็จปุ๊บจะมีไอคอนไปขึ้นที่ Tool bar และ ที่ใน All Program ให้เป็นรูปหนังสือเปิดให้ เห็นดังภาพครับ


2. การเปิดโปรแกรมง่าย ๆ ครับ มีสองวิธี วิธีแรกก็ double click กันตรง ๆ เลยที่ program icon ใน All program นั่นหละครับ ส่วนวิธีที่สองก็ คลิ๊กขวาที่ Icon หนังสือที่ tool bar ด้านล่าง มันจะขึ้น

เราก็ คลิ๊กที่ เปิดโปรแกรม ครับ

3. จะเห็น Program เปิดขึ้นดังภาพ

ถ้าต้องการย่อ ให้คลิ๊กที่สามเหลี่ยมด้านล่างดังภาพ


โปรแกรมจะยุบลง ซึ่งส่วนใหญ่จะแนะนำให้เก็บไว้ซ้ายมือของจอ เพราะจะไม่รบกวน Scroll Bar

4. วิธีใช้มีสองแบบ ครับ โดยวิธีแรก ก็คือการแปลตรง ๆ โดยการพิมพ์ หรือ Copy จากที่อื่นแล้วมา Paste เพื่อแปล ดังภาพ

ผลแปลจะแสดงออกมาให้เห็นดังภาพ

จะมีคำแปล คำอ่าน ประเภทของคำต่าง ๆ เช่น adj. vt n. และอื่น ๆ โดยโปรแกรมนี้จะดึงฐานข้อมูลคำศัพท์ จาก dictionary ชั้นนำหลาย ๆ แหล่ง เช่น Hope, Lexitron มาให้ รวมทั้งยังแสดงคำศัพท์ใกล้เคียงมาให้ พร้อมสรรพ

5. ส่วน วิธีที่สองเป็นจุดเด่นของโปรแกรมนี้ครับ ในขณะที่เราอ่านเอกสารอะไรอยู่ ไม่ว่าจะเป็น Word files, PDF files , Web Page , E-Book เกิดอ่านแล้วสะดุดไม่เข้าใจ ทำให้บางที่เข้าใจข้อความผิดถ้าเราเปิดโปรแกรม Highlight Dictionary 2.3 ไว้แล้ว หรือย่อซ่อนไว้ ไม่มีปัญหาครับให้เรา Highlight คำนั้น ๆ ที่เราแปลไม่ออกนั่นหละครับ ดังภาพสมมติว่าผมไม่เข้าใจ ว่า impact แปลว่าอะไรก็เอา mouse Highlight มันซะ ดังรูป

หลังจากนั้นครับก็กด Key ลัด ที่โปรแกรมตั้งไว้ (ซึ่งเราจะสามารถ Set ได้ทีหลังว่าจะเอาปุ่มไหน ก็ได้ครับ) ก็คือกดปุ่ม Window + X พร้อมกันหลังจากที่เรา Highlight คำนั้น ๆ แล้ว ดังภาพ

จะปรากฎคำแปรออกมาให้เห็นในโปรแกรมที่เรายุบซ่อนไว้

เราสามารถ Copy ไปใส่ File เอกสาร ที่เราไว้อ่านได้เลยครับ เผื่อว่าวันหลังจะมาอ่านซ้ำอีก ซึ่งเป็นวิธีที่ช่วยให้เราเรียนภาษาอังกฤษ และได้คำศัพท์เพิ่มทุกวันไปในตัวอย่างไม่น่าเชื่อครับ

ดังภาพ

6. ถ้าท่านใดเป็น นักใช้ประเภท Super man เอ้ย Super user ก็สามารถเข้าไปตั้งเงื่อนไขต่าง ๆ ได้ดังภาพด้านล่างนี้นะครับ

แค่เพียงเท่านี้ เราก็ได้ Dictionary มือ ฉมังเช่นเดียวกัน มาช่วยและสะดวกใช้ไม่ต้องสลับโปรแกรมไปมา ช่วยให้อ่านบทความภาษาอังกฤษได้เข้าใจมากขึ้น ยิ่งช่วงนี้อะไรอะไรก็เป็น E-Book กัน ไปหมด อันนี้จะสามารถช่วยเราได้อย่างดีทีเดียวครับ อากาศเริ่มเย็น มีฝนตกต้องดูแลสุขภาพกันนิดครับ เสียดายไม่มีโปรแกรมกันฝน แต่มีโปรแกรมพยากรณ์อากาศ แล้ววันหลังจะมา Update ให้ทราบกันอีกทีครับ


อาจารย์นายแพทย์ ศักดา อาจองค์, พบ, บธบ.
SAKDA ARJ-ONG, MD, BBA, MS. In ICT
PHD program of clinical epidemiology,
Pediatrist, Pediatric Cardiologist & Intervention Ped.Cardiology
Family physicians, Emergency physicians.
Emergency Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University