วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2552

9 ขั้นตอน สำหรับการแปลภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ ไม่ให้เป็นเรื่องยากอีกต่อไป ?

บทความนี้ส่งมาทางไกลหน่อยครับจาก Nationwide Children Hospital, Columbus, Ohio State University ซึ่งผมมีโอกาสได้มาฝึกงานและศึกษาด้านวิจัย รอบนี้ต้องขอบอกว่าตัวเองต้องวุ่นวายกับเอกสารหลาย ๆ อย่าง ที่ต้องเตรียมเป็นภาษาอังกฤษไม่ว่าจะเป็นงานวิจัย เอกสารคำร้อง ซึ่งบางอันมีแบบร่างเป็นภาษาไทยไว้บ้างแล้ว ในกรณีแบบนี้บางท่านพอต้องแปลไทยเป็นอังกฤษถึงกับต้องร้องโอโห !!! หรือพาลเอาขี้เกียจทำเลยทีเดียว เอาเป็นว่าผมมีทางออกง่าย ๆ ให้ครับ สำหรับยุค Google Citizen ที่นิยมเรียกกันติดปากในขณะนี้ เพราะขนาดอีเมลก็ใหญ่ มีปฏิทินออนไลน์ มีแผนที่นำทาง มีเอกสารออนไลน์ จิปาถะ ไอ้เรื่องแค่การแปลภาษาทำไมจะทำไม่ได้ครับ แต่จะกี่เปอร์เซ็นต์ต้องดูต่อไปครับ

1. เริ่มกันที่ เราต้องเข้าไปที่ http://translate.google.com/translate_t# หรืออาจ ค้นหาใน Google ก็ได้เช่นกัน
หรือ เข้าไปที่เมนูของ Google เองแล้วเลือก option ที่ even more>> จะปรากฎ drop down list
ให้เลือกเราเลือกไปที่ สัญญาลักษณ์ของ Google translate ดังภาพ ก็จะเข้าสู่เมนูของ Google translate ได้เช่นเดียวกัน
2. เริ่มลงมือกันเลยการแปลเอกสารสามารถทำได้สองวิธีโดยการพิมพ์เป็นประโยคสั้น ๆ วลี หรือคำก็ได้ลงไป เปรียบเสมือนดิกชันนารีดี ๆ เรานี่เองครับ นอกจากแปลเป็นภาษาไทยแล้วภาษาอื่น ๆ ก็ได้ เช่น จีน ลาติน เสปน เป็นต้น พิมพ์หรือ Copy และ paste มาลงก็ได้ ให้เลือก ไทย แปลเป็นอังกฤษ หลังจากนั้นกดที่ปุ่ม Translate ดังภาพ
เลือกภาษา
3. ผลลัพธ์จะเห็นดังภาพ ประโยคสั้น ๆ มักถูกต้องและใช้เวลาในการแปลเร็วกว่าในกรณีที่เราแปลทั้ง Document ครับ เราจะเห็นขบวนการการแปลและให้รอ(ตอนนี้ต้องใจเย็น ๆ)
ผลออกมาดังนี้ครับ ซ้ายเป็นคำที่เราพิมพ์ไป ขวามือเป็นประโยคที่แปล ดังภาพ

4. ในกรณีสมมติผมเขียนบทความภาษาไทยเพื่อไปตีพิมพ์ในวารสารต่างประเทศ ก็สามารถที่จะให้ Google translate ช่วยแปลทั้งเอกสารเลยก็พอไหว ตอนนี้ให้เราเลือกไปที่ Upload document แทนที่จะพิมหรือคัดลอกเข้าไปในช่องเหมือนตอนแรก
ตัว web based ก็จะให้เรา browse หาเอกสารที่เราเก็บไว้ก็เพียงแต่เลือก ครับ แล้วรอขบวนการแปล
5. สมมติตัวอย่างดังนี้บทความเป็นดังนี้
6. เมื่อเรากด Translate ผลจะออกมาดังนี้ ต้องบอกก่อนถ้าขนาดเอกสารใหญ่ รอนานที่เดียวครับอาจไปทำอย่างอื่นก่อนแล้วค่อยกลับมาดูผล ผมแนะนำครับ

ตรงส่วนไหนที่แปลไม่ได้เป็นคำที่เฉพาะ เช่น ชื่อนามสกุล เราสามาถแก้ไขและเพิ่มไปได้ คำที่ได้สละสลวยดีกว่าโปรแกรมแปลภาษาหลาย ๆ ตัวทีเดียว

7. แต่ก็นับว่ายังมีปัญหาอยู่เหมือนกันที่บางครั้งไม่สามารถแปลได้จริง ๆ หรือแปลแล้วไม่ถูกใจเราก็สามารถแก้ไขโดยใช้ mouse ชี้ไปที่บทความ

จะปรากฎ pop up ลอยขึ้นมาเป็นบทความภาษาไทยเดิมก่อนแปล ถ้าเราต้องการดูว่าแปลสอดคล้องหรือไม่ก็ให้เราคลิกที่ Contribution a better translation ที่เป็นเครื่องหมายบวกนั่นละครับ ดังภาพ
จะปรากฎให้เห็นสองคอลัมภ์บนและล่าง หากเราต้องการแก้ก็แก้ได้ที่ช่องภาษาอังกฤษด้านล่างดังตัวอย่างผมพิมพ์คำว่า Information เข้าไป ดังภาพด้านล่างเพื่อให้ภาษาสละสลวยขึ้น

8. คราวนี้เอกสารที่แปลสมบูรณ์น่าจะถูกมากกว่า 80-85 % เป็นส่วนใหญ่นะครับ

9. คราวนี้ถ้าเราต้องการ save บทความที่แปลต้องทราบไว้นิดครับ ว่าเอกสารที่เรา Select all -> Copy และ Paste ลงใน Word file นั้น จะมาแบบภาษาไทยนำหน้าและตามติดด้วยอังกฤษที่แปลตามก้นครับ ทำให้ต้องลบเอาภาษาไทยออกเองด้วยมือภายหลัง ผมพยายามหาวิธีที่จะเอาตัวบทความที่เป็นภาษาอังกฤษทั้งอันมา แต่ยังไม่ได้ครับ(ถ้าได้จะมา Update ให้ทราบกันในฉบับต่อ ๆ ไป)

9.1 คลิกขวาที่เอกสาร และเลือก Select all
9.2 คลิกขาและเลือก Copy

9.3 เปิด New Word File และ Paste ลงไป เอกสารที่เรามาแปะก็จะได้ภาษาไทยนำหน้าและตามติดด้วยอังกฤษที่แปลตามก้นครับ แล้วลบกันตามสะดวกครับ
แค่เพียงเท่านี้ เราก็ได้ผู้ช่วยแปลเอกสารมือฉมัง มาช่วยโดยไม่เสียเวลามากแล้วครับ ข้อควรระวังอันนึงสำหรับการแปลเอกสารทั้ง Document คือ Google translator จะไม่รับ File ใหญ่มาก ๆ ครับ ต้องค่อย ๆ ตัดทอนเอาเอง คิดบทความนี้คงช่วยหลาย ๆ ท่านได้ รวมถึงผู้ปกครองที่ต้องสอนลูก ๆ ทำการบ้านนะครับ สุขกายสบายใจกันทุกคนนะครับ

อาจารย์นายแพทย์ ศักดา อาจองค์, พบ, บธบ.
SAKDA ARJ-ONG, MD, BBA, MS. In ICT
PHD program of clinical epidemiology,
Pediatrist, Pediatric Cardiologist & Intervention Ped.Cardiology
Family physicians, Emergency physicians.
Emergency Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University

วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ประสบการณ์เดินทางจาก ไทย มา Ohio

ผมมีโอกาสได้รับทุนจาก Strecker Funding จาก Ohio ให้มาดูงานเรื่อง Pediatric Emergency & Pediatric injury และ Research in Pediatric injury Surveillance ที่ Columbus, Ohio , USO(University State of Ohio), USA น่าจะมีอะไรกลับติดมือไปฝากหมอเด็กฉุกเฉิน และงาน clinical epidemiology เมืองไทยได้หลาย ๆ ประเด็น

Trip แรก : เดินทางจากประเทศไทยไป Ohio ช่างซับซ้อนนิดหน่อยเพราะไม่มีเที่ยวบินตรง ก่อนมาก็จัดการไป Update ROP Card ของการบินไทยจากบัตรธรรมดาให้เป็นบัตร Silver ซึ่งแน่นอนต้องอาศัยไมล์เอกสิทธ์ที่สะสมในปีนั้นให้ได้ 10,000ไมล์ ไมล์อื่น ๆที่สะสมดันใช้ไม่ได้ มีตั้งเยอะไม่เคยได้ใช้ ที่ต้องรีบ upgrade เพราะจะได้ช่วยน้ำหนักกระเป๋าเวลาเดินทางครับ ถือว่าเป็นสิทธิที่การบินไทยให้เหนือกว่าสายการบินอื่น หากเราชอบเดินทางโดยใช้สายการบินไทยนะครับ เพราะหลัง ๆ ใช้สายการบินอื่น ๆ เช่น EVA, China Airline, Air Nippon นั้นก็สุดยอดทั้งนั้นครับ คือว่าปีนี้บินไปนำเสนอผลงานบ่อยแต่จองผ่าน Agency มักได้ตั๋วลดราคา ราคาถูกลงแต่ไม่ได้ไมล์เอกสิทธิ์สะสม

ครั้งที่แล้วไปนำเสนองานที่ Korea ครับปรากฎว่าขากลับ ตนเองโดนการบินไทย Downgrade มาเป็นบัตรธรรมดาแบบไม่รู้ตัว ผลก็คือต้องทิ้งหนังสือการแพทย์ หนังสือประชุมวิชาการหลาย ๆ อันที่ Update ว่าจะมาฝากคนไทยซะหน่อย ก็ถือว่าซวยไป พอคราวนี้เราก็เลยมาขอ upgrade ก่อนเลยเพราะว่าขากลับรวมไมล์แล้วยังไงก็เกิน ปรากฎว่าทางการบินไทยก็รวมแต้มให้ น้องที่ ROP ก็น่ารักใจหายบอก
"ของคุณหมอขาดสองร้อยไมล์เองหมอบินไปเชียงใหม่ซักเที่ยวเดียวก็พอแล้ว...ยิ้ม" ไอ้เราก็จะบินวันนี้แล้วก็เลยบอกมีวิธีไหนไหมเพราะกว่าจะกลับอีกสามเดือนไม่น่าจะ Upgrade ทัน และทุก ๆ ครั้งที่บินก็มีเรื่องใจหายใจคว่ำ ต้องมาอาศัยความเป็นแพทย์เราช่วยเหลือกันบ่อย ๆ เช่น เจ็บหน้าอกกระทันหัน หอบ ต้องฉีดยาให้คนไข้ที่มาในเครื่องเนื่องจากถึงเวลาฉีดยา เราก็ช่วยเสมอเวลามาขอร้อง ก็เลยคิดว่าแค่นี่ขอกันน่าจะได้นะ มีหมอไปด้วยบนเครื่องน่าจะอุ่นใจ

ไอ้น้องที่ดูให้ก็ดีใจหาย ถามพี่ใหญ่ที่มีอายุหน่อย เป็นหญิง ใส่แว่น สายตามองลอดแว่น แทบไม่มองหน้าเราด้วยซ้ำ เสียงพนักงานอายุน้อยถามว่า "พี่ ๆ มีวิธีใหนช่วยหมอได้หรือเปล่า ? " ไม่ต้องคิดครับเธอมองลอดแว่นสองทีบอกว่า "แต้มมีแค่ไหนก็แค่นั้น" เสียงห้วนมาก จนเรารู้สึกแอบหงุดหงิดในใจ เพราะจริงๆไม่ได้อยากขอ แต่ถ้าไปขอที่ต่างบ้าน ต่างเมืองน่าจะวุ่นวายกว่าที่เมืองไทย อุตส่าห์บากหน้ามาถาม รู้งี้ไม่มาก็ดี เธอตอบเสียงขุ่น ๆ แล้วไม่สนใจเราเลย(ที่ไปมีหมอตั้งสองคน) เธอไม่มองเลยด้วยซ้ำ ตกหนักที่น้องที่รับหน้าเสื่ออีก "ก็ไม่รู้จะช่วยพี่ได้ไงนะค่ะ ไมล์พี่มีสะสมมากเลย แต่หนูไม่รู้ทำไง" ในที่สุดก็เลยมีทางหนึ่งซึ่งผมไม่เคยรู้มาก่อนเลย.."เอางี้หมอก็เอาแต้มสะสมแลกน้ำหนักที่เกินซิค่ะ" ไอ้เราก็ถึงบางอ้อเลยที่นี้ แล้วไอ้ที่เกาหลีเราก็ไม่ต้องทิ้งเอกสารการประชุมและหนังสือประชุมหลายอย่างไปนะซิ แล้วยักไม่มีคนบอก

ถามรายละเอียดได้ว่า 25,000 แต้ม จะแลกน้ำหนักได้ 23 กิโลกรัมนะครับ เราก็เลยเดินออกมาเลย ใช้แต้มแลกก็ได้ เพราะไม่เคยได้ใช้อยู่แล้ว แอบคิดในใจแบบเสียจรรยาบรรณหน่อยนึง ว่าวันไหนบินถ้ามีขอความช่วยเหลือทางการแพทย์จะแอบนั่งเฉย ๆ ให้ดู.... แต่ก็ได้แต่คิดครับ เวลามีคนเดือดร้อนก็อดช่วยไม่ได้ซักที ว่าแล้วก้เดินไปแลก dollar US นิดหน่อย เท่าที่พอมีตัง แล้ว ผ่านด่านเข้าไปรอที่ gate มี trick นิดหน่อยให้ตรวจง่ายขึ้นครับจากที่ไปมาหลาย ๆ รอบ ทั้งเรื่องน้ำหนัก อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่อาจเป็นอุปสรรค เอาไว้ผมจะมาเล่าต่อล่ะกันครับ......

อาจารย์นายแพทย์ ศักดา อาจองค์, พบ, บธบ.
SAKDA ARJ-ONG, MD, BBA, MSc. In ICT
PHD program of clinical epidemiology,
Pediatrist, Pediatric Cardiologist & Intervention Ped.Cardiology
Family physicians, Emergency physicians.
Emergency Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University