บทความนี้ติดพันเกี่ยวเนื่องจาก
RMP(Rama Plus Magazine) ฉบับ ก่อน เพราะผู้อ่านหลายท่านได้เมลล์มาถามถึงโปรแกรมดิกชันนารีที่ดี ๆ และฟรี ว่าอาจารย์ แนะนำตัวไหน ของเดิมส่วนใหญ่ที่ถามกันจะมักใช้เป็นของ Thai software Dictionary กันเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเวลาแปล ต้องกลับไปเปิดหน้าโปรแกรมซึ่งค่อนข้างไม่สะดวก เพราะอยู่คนละหน้าต่างกัน ฉบับนี้ ผมก็เลยมาแนะนำ Dictionary ตัวโปรดของผมเลย ซึ่งมีสองโปรแกรมที่ใช้บ่อย ๆ ที่ฟรี และสะดวกใช้เนื่อที่ค่อนข้างน้อย และเวลาเรา Highlight มันจะขึ้นคำแปลมาให้เลย ฉบับบนี้ขอแนะนำแค่โปรแกรมเดียวก่อนครับ โปรแกรมที่ว่านี้คือ Highlight Dictionary version 2.3 ขนาดของโปรแกรมไม่ใหญ่มากนักราว 6.26 MB แล้วฉบับหน้าถ้ามีเวลาผมจะมาแนะนำอีกอันที่เหลือนะครับ
1. เริ่มกันที่เราต้องเข้าไปที่ Web ที่ผมเตรียมไว้ให้ก็ได้ครับสะดวกดี ไปที่ http://statidea.blogspot.com/ แล้วไปมองหาที่เมนูซ้ายมือที่หัวข้อ Programs แล้ว Double click ที่ Highlight dictionary 2.3 (freeware) ดังภาพ หรืออาจ ค้นหาใน Google ก็ได้เช่นกันครับ
จะเห็นว่าเป็นโปรแกรมฟรี ใช้ได้กับ Window ตระกูลต่าง ๆ เป็นส่วนใหญ่นะครับ ถ้าใครใช้ Linux รู้สึกผมจะยังไม่เห็นมีนะครับ พอดับเบิ้ลคลิก เราก็ save ตัวโปรแกรมไว้ในคอมของใครของมัน Folder ไหนแล้วแต่ใจชอบครับ
หลังจากนั้นก็ติดตั้งจะไว้ที่ C:/program หรือ D:/program ก็ได้ครับไม่แตกต่างกัน ผมชอบไว้ที่ D: จะได้ไม่กวนการทำงานโปรแกรมหลัก พอลงเสร็จปุ๊บจะมีไอคอนไปขึ้นที่ Tool bar และ ที่ใน All Program ให้เป็นรูปหนังสือเปิดให้ เห็นดังภาพครับ
2. การเปิดโปรแกรมง่าย ๆ ครับ มีสองวิธี วิธีแรกก็ double click กันตรง ๆ เลยที่ program icon ใน All program นั่นหละครับ ส่วนวิธีที่สองก็ คลิ๊กขวาที่ Icon หนังสือที่ tool bar ด้านล่าง มันจะขึ้น
เราก็ คลิ๊กที่ “ เปิดโปรแกรม ” ครับ
3. จะเห็น Program เปิดขึ้นดังภาพ
ถ้าต้องการย่อ ให้คลิ๊กที่สามเหลี่ยมด้านล่างดังภาพ
โปรแกรมจะยุบลง ซึ่งส่วนใหญ่จะแนะนำให้เก็บไว้ซ้ายมือของจอ เพราะจะไม่รบกวน Scroll Bar
4. วิธีใช้มีสองแบบ ครับ โดยวิธีแรก ก็คือการแปลตรง ๆ โดยการพิมพ์ หรือ Copy จากที่อื่นแล้วมา Paste เพื่อแปล ดังภาพ
ผลแปลจะแสดงออกมาให้เห็นดังภาพ
จะมีคำแปล คำอ่าน ประเภทของคำต่าง ๆ เช่น adj. vt n. และอื่น ๆ โดยโปรแกรมนี้จะดึงฐานข้อมูลคำศัพท์ จาก dictionary ชั้นนำหลาย ๆ แหล่ง เช่น Hope, Lexitron มาให้ รวมทั้งยังแสดงคำศัพท์ใกล้เคียงมาให้ พร้อมสรรพ
5. ส่วน วิธีที่สองเป็นจุดเด่นของโปรแกรมนี้ครับ ในขณะที่เราอ่านเอกสารอะไรอยู่ ไม่ว่าจะเป็น Word files, PDF files , Web Page , E-Book เกิดอ่านแล้วสะดุดไม่เข้าใจ ทำให้บางที่เข้าใจข้อความผิดถ้าเราเปิดโปรแกรม Highlight Dictionary 2.3 ไว้แล้ว หรือย่อซ่อนไว้ ไม่มีปัญหาครับให้เรา Highlight คำนั้น ๆ ที่เราแปลไม่ออกนั่นหละครับ ดังภาพสมมติว่าผมไม่เข้าใจ ว่า impact แปลว่าอะไรก็เอา mouse Highlight มันซะ ดังรูป
หลังจากนั้นครับก็กด Key ลัด ที่โปรแกรมตั้งไว้ ( ซึ่งเราจะสามารถ Set ได้ทีหลังว่าจะเอาปุ่มไหน ก็ได้ครับ) ก็คือกดปุ่ม Window + X พร้อมกันหลังจากที่เรา Highlight คำนั้น ๆ แล้ว ดังภาพ
จะปรากฎคำแปรออกมาให้เห็นในโปรแกรมที่เรายุบซ่อนไว้
เราสามารถ Copy ไปใส่ File เอกสาร ที่เราไว้อ่านได้เลยครับ เผื่อว่าวันหลังจะมาอ่านซ้ำอีก ซึ่งเป็นวิธีที่ช่วยให้เราเรียนภาษาอังกฤษ และได้คำศัพท์เพิ่มทุกวันไปในตัวอย่างไม่น่าเชื่อครับ
ดังภาพ
6. ถ้าท่านใดเป็น นักใช้ประเภท Super man เอ้ย Super user ก็สามารถเข้าไปตั้งเงื่อนไขต่าง ๆ ได้ดังภาพด้านล่างนี้นะครับ
แค่เพียงเท่านี้ เราก็ได้ Dictionary มือ ฉมังเช่นเดียวกัน มาช่วยและสะดวกใช้ไม่ต้องสลับโปรแกรมไปมา ช่วยให้อ่านบทความภาษาอังกฤษได้เข้าใจมากขึ้น ยิ่งช่วงนี้อะไรอะไรก็เป็น E-Book กัน ไปหมด อันนี้จะสามารถช่วยเราได้อย่างดีทีเดียวครับ อากาศเริ่มเย็น มีฝนตกต้องดูแลสุขภาพกันนิดครับ เสียดายไม่มีโปรแกรมกันฝน แต่มีโปรแกรมพยากรณ์อากาศ แล้ววันหลังจะมา Update ให้ทราบกันอีกทีครับ
อาจารย์นายแพทย์ ศักดา อาจองค์, พบ, บธบ.
SAKDA ARJ-ONG, MD, BBA, MS. In ICT
PHD program of clinical epidemiology,
Pediatrist, Pediatric Cardiologist & Intervention Ped.Cardiology
Family physicians, Emergency physicians.
Emergency Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University