วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2552

9 ขั้นตอน สำหรับการแปลภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ ไม่ให้เป็นเรื่องยากอีกต่อไป ?

บทความนี้ส่งมาทางไกลหน่อยครับจาก Nationwide Children Hospital, Columbus, Ohio State University ซึ่งผมมีโอกาสได้มาฝึกงานและศึกษาด้านวิจัย รอบนี้ต้องขอบอกว่าตัวเองต้องวุ่นวายกับเอกสารหลาย ๆ อย่าง ที่ต้องเตรียมเป็นภาษาอังกฤษไม่ว่าจะเป็นงานวิจัย เอกสารคำร้อง ซึ่งบางอันมีแบบร่างเป็นภาษาไทยไว้บ้างแล้ว ในกรณีแบบนี้บางท่านพอต้องแปลไทยเป็นอังกฤษถึงกับต้องร้องโอโห !!! หรือพาลเอาขี้เกียจทำเลยทีเดียว เอาเป็นว่าผมมีทางออกง่าย ๆ ให้ครับ สำหรับยุค Google Citizen ที่นิยมเรียกกันติดปากในขณะนี้ เพราะขนาดอีเมลก็ใหญ่ มีปฏิทินออนไลน์ มีแผนที่นำทาง มีเอกสารออนไลน์ จิปาถะ ไอ้เรื่องแค่การแปลภาษาทำไมจะทำไม่ได้ครับ แต่จะกี่เปอร์เซ็นต์ต้องดูต่อไปครับ

1. เริ่มกันที่ เราต้องเข้าไปที่ http://translate.google.com/translate_t# หรืออาจ ค้นหาใน Google ก็ได้เช่นกัน
หรือ เข้าไปที่เมนูของ Google เองแล้วเลือก option ที่ even more>> จะปรากฎ drop down list
ให้เลือกเราเลือกไปที่ สัญญาลักษณ์ของ Google translate ดังภาพ ก็จะเข้าสู่เมนูของ Google translate ได้เช่นเดียวกัน
2. เริ่มลงมือกันเลยการแปลเอกสารสามารถทำได้สองวิธีโดยการพิมพ์เป็นประโยคสั้น ๆ วลี หรือคำก็ได้ลงไป เปรียบเสมือนดิกชันนารีดี ๆ เรานี่เองครับ นอกจากแปลเป็นภาษาไทยแล้วภาษาอื่น ๆ ก็ได้ เช่น จีน ลาติน เสปน เป็นต้น พิมพ์หรือ Copy และ paste มาลงก็ได้ ให้เลือก ไทย แปลเป็นอังกฤษ หลังจากนั้นกดที่ปุ่ม Translate ดังภาพ
เลือกภาษา
3. ผลลัพธ์จะเห็นดังภาพ ประโยคสั้น ๆ มักถูกต้องและใช้เวลาในการแปลเร็วกว่าในกรณีที่เราแปลทั้ง Document ครับ เราจะเห็นขบวนการการแปลและให้รอ(ตอนนี้ต้องใจเย็น ๆ)
ผลออกมาดังนี้ครับ ซ้ายเป็นคำที่เราพิมพ์ไป ขวามือเป็นประโยคที่แปล ดังภาพ

4. ในกรณีสมมติผมเขียนบทความภาษาไทยเพื่อไปตีพิมพ์ในวารสารต่างประเทศ ก็สามารถที่จะให้ Google translate ช่วยแปลทั้งเอกสารเลยก็พอไหว ตอนนี้ให้เราเลือกไปที่ Upload document แทนที่จะพิมหรือคัดลอกเข้าไปในช่องเหมือนตอนแรก
ตัว web based ก็จะให้เรา browse หาเอกสารที่เราเก็บไว้ก็เพียงแต่เลือก ครับ แล้วรอขบวนการแปล
5. สมมติตัวอย่างดังนี้บทความเป็นดังนี้
6. เมื่อเรากด Translate ผลจะออกมาดังนี้ ต้องบอกก่อนถ้าขนาดเอกสารใหญ่ รอนานที่เดียวครับอาจไปทำอย่างอื่นก่อนแล้วค่อยกลับมาดูผล ผมแนะนำครับ

ตรงส่วนไหนที่แปลไม่ได้เป็นคำที่เฉพาะ เช่น ชื่อนามสกุล เราสามาถแก้ไขและเพิ่มไปได้ คำที่ได้สละสลวยดีกว่าโปรแกรมแปลภาษาหลาย ๆ ตัวทีเดียว

7. แต่ก็นับว่ายังมีปัญหาอยู่เหมือนกันที่บางครั้งไม่สามารถแปลได้จริง ๆ หรือแปลแล้วไม่ถูกใจเราก็สามารถแก้ไขโดยใช้ mouse ชี้ไปที่บทความ

จะปรากฎ pop up ลอยขึ้นมาเป็นบทความภาษาไทยเดิมก่อนแปล ถ้าเราต้องการดูว่าแปลสอดคล้องหรือไม่ก็ให้เราคลิกที่ Contribution a better translation ที่เป็นเครื่องหมายบวกนั่นละครับ ดังภาพ
จะปรากฎให้เห็นสองคอลัมภ์บนและล่าง หากเราต้องการแก้ก็แก้ได้ที่ช่องภาษาอังกฤษด้านล่างดังตัวอย่างผมพิมพ์คำว่า Information เข้าไป ดังภาพด้านล่างเพื่อให้ภาษาสละสลวยขึ้น

8. คราวนี้เอกสารที่แปลสมบูรณ์น่าจะถูกมากกว่า 80-85 % เป็นส่วนใหญ่นะครับ

9. คราวนี้ถ้าเราต้องการ save บทความที่แปลต้องทราบไว้นิดครับ ว่าเอกสารที่เรา Select all -> Copy และ Paste ลงใน Word file นั้น จะมาแบบภาษาไทยนำหน้าและตามติดด้วยอังกฤษที่แปลตามก้นครับ ทำให้ต้องลบเอาภาษาไทยออกเองด้วยมือภายหลัง ผมพยายามหาวิธีที่จะเอาตัวบทความที่เป็นภาษาอังกฤษทั้งอันมา แต่ยังไม่ได้ครับ(ถ้าได้จะมา Update ให้ทราบกันในฉบับต่อ ๆ ไป)

9.1 คลิกขวาที่เอกสาร และเลือก Select all
9.2 คลิกขาและเลือก Copy

9.3 เปิด New Word File และ Paste ลงไป เอกสารที่เรามาแปะก็จะได้ภาษาไทยนำหน้าและตามติดด้วยอังกฤษที่แปลตามก้นครับ แล้วลบกันตามสะดวกครับ
แค่เพียงเท่านี้ เราก็ได้ผู้ช่วยแปลเอกสารมือฉมัง มาช่วยโดยไม่เสียเวลามากแล้วครับ ข้อควรระวังอันนึงสำหรับการแปลเอกสารทั้ง Document คือ Google translator จะไม่รับ File ใหญ่มาก ๆ ครับ ต้องค่อย ๆ ตัดทอนเอาเอง คิดบทความนี้คงช่วยหลาย ๆ ท่านได้ รวมถึงผู้ปกครองที่ต้องสอนลูก ๆ ทำการบ้านนะครับ สุขกายสบายใจกันทุกคนนะครับ

อาจารย์นายแพทย์ ศักดา อาจองค์, พบ, บธบ.
SAKDA ARJ-ONG, MD, BBA, MS. In ICT
PHD program of clinical epidemiology,
Pediatrist, Pediatric Cardiologist & Intervention Ped.Cardiology
Family physicians, Emergency physicians.
Emergency Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University

3 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ13 กันยายน 2552 เวลา 05:25

    สุดยอดมีประโยชน์มาก ๆ ค่ะ จะคอยติดตามนะค่ะ
    รอข้อมูลใหม่ ดี ๆ อยู่ เป็นกำลังใจให้ค่า

    ตอบลบ
  2. ขอบคุณสำหรับบทความดีๆเกี่ยวกับการแปลเอกสารครับ

    ตอบลบ
  3. ชอบวิธีที่อาจารย์แนะนำจังเลยครับ ลดเวลาในการแปลได้เยอะเลย

    ตอบลบ