การวิจัยในการให้การรักษาผู้ป่วยนั้นบางครั้งพบว่ายิ่งเก็บผลลัพธ์ไปเรื่อย กลับรู้สึกว่าผลการรักษษ เอ ! ทำไมถึงดีขึ้นเรื่อย ๆ มีเหตุผลหลายข้อชวนให้คิดถึงดังนี้ครับ
๑) เป็นผลจากการรักษาที่ให้ผลดีจริง ๆ อันนี้มีโอกาสเกิดได้ครับถ้ายาหรือ intervention ที่เรานำมาใช้ในการรักษาให้ผลที่ดีขึ้นจริง ๆ เช่น ยาลดความดันตัวใหม่ทำให้ความดันลดลง การนำขบวนกาารรักษาชนิดใหม่มาใช้ส่งผลให้อัตราการตายในกลุ่มคนไข้ที่เราสนใจลดลง
๒) เป็นผลที่เกิดขึ้นจากการวัดซ้ำหลาย ๆ ครั้ง ซึ่งมักเกิดขึ้น เราเรียกว่า regression to the mean โดยจะสังเกตว่าค่าที่วัดได้หลัง ๆ จะดี หรือให้ค่าต่ำลง
๓) เป็นผลจาก natural history ของโรคเองที่ต้องดีขึ้น เช่น viral diarrhea มีการใช้ยาบางกลุ่มมาใช้ในการรักษาแต่อย่าลืมว่าการดำเนินอาการของโรคอาจดีขึ้นได้เองและแตกต่างกันไปในแต่ละคนโดยที่ไม่ได้เป็นผลจากยาโดยตรง
๔) เป็นผลมาจาก Hawthorne effect เป็นการที่รู้สึกดีขึ้นเองโดยไม่ได้เป็นผลจากยาหรือ intervention ในการรักษาแต่เป็นผลอ้อม ๆ ที่ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้นจากการที่ได้รับการดูแลทางการแพทย์
๕) เป็นผลจากยาหลอก หรือ placebo effect ยาหลอกก็ทำให้รู้สึกว่าได้รับกาารรักษา บางครั้งการวัดผลที่เป็นแบบ subjective measurement ผู้ป่วยจะให้คะแนนว่าดีขึ้นเพราะความรู้สึกว่าได้รับการรักษาทั้งที่จริง ๆ แล้ว ยาไม่ช่วยอะไรเลย
อาจารย์นายแพทย์ ศักดา อาจองค์, พบ, บธบ.
SAKDA ARJ-ONG, MD, BBA, MS.ICT
PHD program of clinical epidemiology,
Pediatrist, Pediatric Cardiologist & Intervention Ped.Cardiology
Family physicians, Emergency physicians.
Certificates in Pediatric Emergency Medicine,
Emergency Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น