วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประวัติที่มาที่ไปของสัญญลักษณ์ที่เราพบบ่อย ๆ ในทางไอที

ที่มาที่ไปของสัญญลักษณ์ที่เราพบบ่อย ๆ ในทางไอที

จะมากล่าวถึงสัญญลักษณ์หลายอันที่เราใช้กันในชีวิตประจำวันในยุคที่ไอทีเข้ามามีบทบาทในชีวิตเราอย่างมากมาย ว่าเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์เหล่านี้นั้นมีที่มาที่ไปอย่างไรซึ่งคาดว่าหลาย ๆ คนอาจไม่ทราบ ทุกอย่างต้องมีที่มาที่ไปเสมอครับ ที่มาอาจจะเกิดจากการตั้งใจออกแบบเพื่อให้ใช้โดยตรง เกิดจาการหลีกหนีความจำเจที่พบอยู่ทุกวัน หรือมีที่มาโดยบังเอิญ หรืออาจไม่มีที่มาที่ไปเลยก็ได้ครับ ซึ่งต้องขอบอกที่มาบางอันอาจคาดไม่ถึงเลยทีเดียวครับ จะกล่าวให้เรารู้เป็นความรู้ทั่วไปสักห้าหรือหกสัญญลักษณ์เอาไว้เล่าหรือทายเพื่อน ๆ ร่วมงานหรือเอาไว้สอนเด็ก ๆ ในบ้านกันได้เลยนะครับ..

1.สัญญลักษณ์ Power.




สัญญลักษณ์นี้น่าขำที่ครั้งแรกเคยใช้เป็นสัญลักษณ์ของซองห่อถุงยางอนามัยของนิวยอร์ค (มีความหมาย คล้ายการมีพลังในการมีเพศสัมพันธุ์- as your power in bed symbol) หรือแม้กระทั่งถูกนำมาสกรีนบนเสื้อยืด และเมื่อนานมาแล้วในสมัยครั้งในสงครามโลกครั้งที่สองนั้น วิศวกรท่านหนึ่งเอามาใช้แทนปุ่มเปิดปิด สำหรับสวิทช์ ซึ่งสัญลักษณ์จะมี “ศูนย์”กับ”หนึ่ง”ซ้อนกันอยู่ หนึ่งหมายถึงเปิด ศูนย์หมายถึงปิด ปี 2516 องค์กรนานาชาติ International Electrotechnical Commission ได้ปรับเปลี่ยนสัญลักษณืนิดหน่อยโดยการทำให้วงกลมแยกออกและใส่เส้นไว้ข้างในดังรูป เป็นการบอกว่ามีการเปิดวงจรไฟฟ้าอยู่ (standby power state) และก็ใช้ต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน จนกระทั่ง IEEE (ไอ-ทริป-เปิ้ล-อี) ได้มาสร้างเป็นมาตรฐานสัญลักษณ์ดังในปัจจุบัน


2.สัญญลักษณ์ Command

สัญลักษณ์นี้มีที่มาตรงที่ถ้าเราพอนึกออกในสถานะของวินโดว์ ก็มีปุ่มคล้าย ๆ กันแบบนี้แต่เป็นปุ่มเครื่องหมายวินโดว์(บานหน้าต่างเล็ก ๆ) แทน เนื่องมาจากอีตาสตีฟ จ๊อบ ผุ้บริหารของ Mc Intoch แกเป็นโรคขี้เบื่อเครื่องหมายลูกแอ๊ปเปิ้ล เพราะแสนจะเยอะไปหมดในผลิตภัณฑ์ของเขา ทีมงานของเขาจึงได้เลือกเอาสัญลักษณ์ รูปของต้นไม้หรือพรรณพืช ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่เราเรียกว่า Gorgon loop หรือ infinite loop นั่นเอง ดังที่เราเห็นสัญลักษณ์คำสั่งนี้ (Command) บนเครื่องแมคอินท๊อชมาจวบจนถึงปัจจุบัน




3.สัญญลักษณ์ Bluetooth


ที่มาจากเรื่องเล่าในศตวรรษที่ 10 กษัตริย์ของเมืองแดนิส (Danish) ชื่อ Harald Blåtandนั้นมีชื่อเสียงและเชี่ยวชาญเกียวกับเรื่องของ blueberry ซึ่งไม่แน่ใจเหมือนกันว่าแกชอบกินหรือยังไงไม่ทราบเหมือนกัน แต่กล่าวกันว่าฟันอย่างน้อยซี่หนึ่งของเขามีสีน้ำเงินเคลือบติดแน่นอยู่ ก็ไม่รู้ว่าเอามาโยงกันยังไงเหมือนกัน แต่ที่รู้พอดีกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดนี้ได้เริ่มผลิตออกมา ซึ่งตอนแรกมีลักษณะคล้าย ๆ ซี่ของฟันจริง ๆ ("teeth-like" shape) และแถมเป็นสีน้ำเงินอีกด้วย พอช่วงหลัง ๆ อุปกรณ์ชนิดนี้ถูกวางมาตรฐานให้ใช้ได้ร่วมกันในหลาย ๆ ประเทศ ทั้งใน นอร์เวย์ สวีเดน และเดนมาร์ก จึงมีชื่อเรียกและใช้สัญลักษณ์ที่มองดูคล้าย ๆ รากฟันสีน้ำเงินมาจนถึงปัจจุบัน


4.สัญญลักษณ์ USB











เครื่องหมาย USB นั้นถ้าให้ทายกันคงคิดไม่ถึง แต่ก็เชื่อว่าทุกคนของบอกว่าช่างคิดจริง ๆ ลักษณะของสัญญลักษณ์ USB ถูกออกแบบให้คล้ายกับลักษณะของ สามง่ามของเทพโพไซดอน เสมือนการเชื่อมต่อได้หลาย ๆ ทาง ได้มีการพยายามออกแบบให้สื่อความหมายมากขึ้น โดยปลายต่อสามอันภายนอกเดิมจะเป็นปลายแหลม จึงได้ประยุกต์ออกแบบให้เป็นรูปแบบสามเหลี่ยมบ้าง สี่เหลี่ยมบ้าง วงกลม เพื่อการสื่อความหมายว่าสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ส่วนปลายได้หลาย ๆ มาตรฐานนั่นเองและยังคงใช้เป็นมาตรฐานมาถึงทุกวันนี้เช่นกัน


5.สัญญลักษณ์ Play/Pause




ไม่ใช่เครื่องหมายที่อยู่บนคีย์บอร์ดโดยตรง โดยปกติจะอยู่บนเครื่องเล่นมีเดียชนิดต่าง ๆ ในการเล่นไฟล์เสียงหรือวิดีโอ ส่วนเครื่องหมาย pause นั้นน่าสนใจเพราะได้แนวความคิดในการออกแบบมาจาก เครื่องหมายทางดนตรี (musical notation) ที่มีชื่อว่า caesura เป็นการบอกว่าหยุดชั่วขณะหนึ่ง

6.สัญญลักษณ์ @ (at)

At or Ah @, สัญลักษณ์ที่มาแรงแซงโค้ง เรียกว่าใครเล่นอินเตอร์เน๊ต มีอีเมลล์ต้องรู้จัก บางทีที่เครื่องหมายนี้รู้จักกันไปทั่วในเวลาสั้น ๆ อาจเป็นเพราะที่มาที่มีความไม่ชัดเจนของเครื่องหมายนี้เอง ซึ่งรู้จักกันหลาย ๆ ชื่อ หลาย ๆ ลักษณะ แตกต่างกันไปในหลาย ๆ ประเทศ เช่น ในประเทศอิตาลี ฝรั่งเศส เรียกสัญลักษณ์นี้ว่า the snail (หอยทาก), ในจีนเรียกว่า little mouse(หนู) และในเยอรมันเรียก monkey's tail (หางลิง) ซึ่งแล้วแต่ใครจะจินตนาการ บางคนเชื่อว่า @ เริ่มมีมาตั้งแต่ศตวรรษที่หก เมื่อพวกพระในอดีตสร้างคำว่า ad ในภาษาละติน (ซึ่งเป็นการบอกปี คริสตกาล) แต่ก็กลัวจะสับสนกับคำว่า "at" หรือ "toward" บางคนกล่าวว่าเป็นการออกแบบให้กับ Anno Domini หรือ ปีหลังการตายของพระเยซูคริสต์ (the years after the death of Christ).



อาจารย์นายแพทย์ ศักดา อาจองค์, พบ, บธบ.
SAKDA ARJ-ONG, MD, BBA, MS.ICT
PHD program of clinical epidemiology,
Pediatrist, Pediatric Cardiologist & Intervention Ped.Cardiology
Family physicians, Emergency physicians.
Emergency Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University