วันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วิธีหา Missing Data และแก้ไขแบบง่าย ๆ ด้วยชุดคำสั่ง STATA

วิธีหา Missing Data และแก้ไขแบบง่าย ๆ ด้วยชุดคำสั่ง STATA


บางครั้งที่เราทำงานใน Stata ในระยะเริ่มแรก เมื่อเราทำการ Cleaning และ Check ข้อมูลเรามักมีปัญหา Missing ที่ซ่อนอยู่ เมื่อเราตรวจสอบและ Verify แล้วต้องการแก้ แต่เอ ไม่คุ้นเคยคำสั่ง วันนี้ผมจะมาแนะนำคำสั่งอย่างง่ายในการเข้าไปหา id ของ missing data กันนะครับเพื่อที่เราจะสามารถ ค้นหาและแทนที่ข้อมูลที่ผิดพลาด ได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องผ่าน Stata Data Editors ครับ

1. Check ดู Missing ในชุดข้อมูล โดยใช้คำสั่ง Codebook ข้อมูลแต่ละตัวแปรจะขึ้นมาทั้งหมด

2. หากต้องการแก้เฉพาะจุดเช่น
เราให้ลำดับของ Job หรืออาชีพเป็นลำดับ 1-7 แต่เผอิญมีผู้ลงข้อมูลผิดมาเป็น "73" เราสามารถเข้าไปหาและแก้ไขได้ง่าย ๆ ดังนี้ครับ

2.1 หา id หรือ order ลำดับข้อมูลที่ผิดพลาด
list order job if job=="73" หรือ list job if job=="73"



2.2 แทนที่ด้วยคำสั่ง replace

replace job = "7" in 231
(1 real change made)



3. ในกรณีที่ต้องการดู Missing data ในตารางก็สามารถเรียกดูได้ด้วยคำสั่งแบบเดียวกัน
list job if job==" "
. note : no missing present (ไม่พบ Missing แล้วหลังจากแก้ไขให้ถูกต้อง)
list job if job=="7"





อาจารย์นายแพทย์ ศักดา อาจองค์ วัลลิภากร, พบ, บธบ.

SAKDA ARJ-ONG, MD, BBA, MS.ICT, MA.(Information Science)
PHD program of clinical epidemiology,
Pediatrist, Pediatric Cardiologist, Intervention Pediatric Cardiology
Family physicians, Emergency physicians, Cert Pediatric Emergency Medicine
Emergency Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University
"หมอหนึ่ง"พิธีกรรายการ พบหมอรามา Dr.Tech ทาง True Vision 80



วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553

10 ข้อควรระวังในการใช้ Social Network Services เช่น Facebook Twitter ให้มั่นใจและปลอดภัย

10 ข้อควรระวังในการใช้ Social Network Services เช่น Facebook Twitter ให้มั่นใจและปลอดภัย

ใน ปัจจุบันการใช้ Social Network นับเป็นการสื่อสารหรือสังคมออนไลน์ที่เริ่มมีความนิยมมากขึ้นเป็นลำดับ ดังนั้นการใช้สื่อหรือเครื่องมือในการสื่อสารประเภทนี้ จึงอาจต้องมาเหลียวหน้าเหลียวหลังดูกันว่า เราควรใช้กันอย่างไรถึงจะปลอดภัย ยกตัวอย่างเช่น เพื่อนบ้านเราท่านหนึ่ง ในช่วงหยุดหลาย ๆ วันนี้จะเดินทางไปเที่ยวต่างจังหวัด จึงได้โพสต์บอกเพื่อน ๆ ที่สนิทในวงสนทนาออนไลน์ซะหน่อยจะได้รู้ ๆ กัน แถมช่วงไปเที่ยวก็ยังโพสต์รูปมาโชว์ให้เพื่อน ๆ ในกลุ่มให้เป็นที่อิจฉากัน ผลปรากฎว่าหลังกลับจากพักผ่อนหลายวันครั้งนี้ เพื่อนบ้านเราท่านนี้แทบจะเป็นลมเมื่อพบว่าบ้านถูกงัด ยกเค้าซะเรียบวุธ แถมพอนึกย้อนตนเองยังมีหน้าไปโพสต์บอกขโมยหรือโจรที่จ้องจะเข้างัดบ้าน ให้เข้ามาได้ถูกช่วงถูกเวลาซะอีก นึกแล้วเจ็บใจ ฉบับบนี้เราจะมาพูดกันถึง 10 ข้อ หลัก ๆ ควรระวังในการใช้สื่อหรือเครื่องมือประเภทสังคมออนไลน์ เช่น facebook, twitter หรืออื่น ๆ

1.ถ้ารักจะใช้ Social Network ก็ไม่ควรระบุ ข้อมูลส่วนตัวให้แสดงเกินความจำเป็น เช่น ว/ด/ป สถานที่เกิด เป็นต้น

ข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญเหล่านี้ถือว่าเป็นช่องทางหนึ่งในการระบุตัวตนที่สำคัญอันหนึ่งทีเดียว บางคนอาจลงเพื่อให้เพื่อนรู้วันเกิดของเราและรู้สึกดีใจที่เพื่อน ๆ มาอวยพรวันเกิดให้เรา แม้จะอยู่ไกลกันคนละประเทศก็ตาม แต่ตรงนี้ควรพึงระวังอย่างยิ่ง มีผลดีก็ย่อมมีผลเสียไปในตัวพร้อม ๆ กัน ถ้าจำกันง่าย ๆ เวลาเขา verify หรือตรวจสอบตัวตนของเจ้าของบัตรเครดิต เวลาขอวงเงินเพิ่ม ขออนุมัติในการทำสิทธิต่าง ด้านธุรกรรมบัตรเครติด จะได้ยินเจ้าหน้าที่ถามกันบ่อย คือ ชื่อ นามสกุล วัน เดือน ปี เกิด เปิดบัญชีธนาคารกับธนาคารหรือไม่ ลองคิดดูสิครับ หากมีคนเก็บบัตรเราไปแล้วสวมสิทธ์ เพราะการเซ็นต์ชื่ออย่างที่เราทราบกัน สามารถปลอมแปลงกันได้แถมยังไม่ใคร่ใส่ใจเวลาเราเซ็นต์ชื่อกันเท่าไร ก็ลองคิดภาพต่อสิครับ มีรายงานจากสถาบัน Carnegie Mellon ได้ให้ข้อคิดว่าหากเราเปิดเผยข้อมูลเหล่านี้ก็เท่ากับเราเปิดประตูการเข้าถึงธุรกรรมด้านการเงินของบุคคลคนนั้นไปค่อนตัวแล้ว อีกเรื่องที่สำคัญคือเมื่อระบุ วันเดือน ปี เกิด เด็ก ๆ วัยรุ่นที่มีอายุน้อย ๆ ก็จะสามารถถูกล่อลวงได้ง่ายและเป็นจุดสนใจที่มิจฉาชีพสนใจ



2.วางแผนจะเดินทางไปท่องเที่ยวที่ไหน อย่าง ไร เมื่อไร ไม่จำเป็นต้องบอกหรือแสดงเอาไว้ใน Wall หรือ New Feed

เมื่อไรก็ตามจะเดินทางไปพักผ่อนไม่ว่าไกลแค่ไหน ก็ไม่ควรเสนอข้อมูลล่วงหน้าไว้ให้ผู้ที่ไม่หวังดีกับเรา ได้รับทราบและวางแผนมาทำร้ายต่อบุคคลหรือทรัพย์สินของเรา เช่น “วันนี้ ไม่อยู่ ลาหยุดไปพักผ่อนกับครอบครัว ในวันสบาย ๆ กลับ 14 ธค. 53 นะค่ะ เพื่อน ๆ ” เท่านี้ก็รู้แล้ว ว่าเจ้าของบัญชีผู้ใช้นี้ไม่อยู่บ้าน ซึ่งบางครั้งมีถ่ายรูปในบ้าน สิ่งของต่าง ๆ ไว้ หรือมีของดีที่เอามาอวด มาโชว์ไว้ในเว็บ ก็เป็นจุดที่ดึงดูดความสนใจให้มิฉาชีพที่ไม่หวังดีกับเราติดตามพฤติกรรมของเราได้



3.ที่อยู่ บ้านที่ทำงาน ต่าง ๆ ไม่ควรนำมาแสดงไว้

ตรงไปตรงมาเลยครับ ถ้าคุณน้อยหน่า หน้าหว๊าน หวาน โพสต์ ไว้ว่า “ อาทิตย์นี้มาที่ลั้นลากันที่สมุย มาเลย ฟ้า สวย น้ำใส” หากผมเป็นโจรก็จะรู้เลยว่าคุณน้อยหน่าหน้า หว๊าน หวาน ไม่อยู่บ้านราวหนึ่งสับดาห์ แหมแถมยังระบุที่อยู่ไว้ให้เราอีก คิดดูครับว่าอะไรจะเกิดขึ้นตามมา ดังนั้นไม่ควรอย่างยิ่ง ที่จะระบุที่อยู่โดยละเอียดไว้ในสื่อประเภทนี้ ซื้อบ้านซื้อคอนโด ด้วยความดีใจถ่ายพื้นที่ต่าง ๆ ในบ้านมาให้เพื่อน ๆ ดูและดีใจ แต่ระวังว่าอาจนำไปสู่ช่องทางการเข้าถึงภายในบ้านแบบไม่รู้ตัวด้วยนะครับ จะโพสต์อะไรก็ต้องคิดกันนิดนึงครับ

4.ความเสี่ยงด้านพฤติกรรมทางสังคม

ข้อนี้อาจมองเห็นภาพไม่ชัดเจน ความเสี่ยงทางด้านพฤติกรรมทางสังคมบางครั้งผลกระทบจะกระทบต่อลูกหลาน เพื่อนรอบข้าง หรือแม้กระทั่งตนเอง เช่น การลงข้อความความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งเสพติด เหล้า บุหรี แม้ในโทรทัศน์จะมีการแบนด์กันให้เห็น แต่ในเครือข่ายสังคมออนไลน์ยังไม่มีให้เห็น ดังนั้นข้อเสียคือการโฆษณาโดยไม่มีการควบคุม เด็กหรือวัยรุ่นอาจเกิดพฤติกรรมการเลียนแบบ ว่า สุรา เบียร์ บุหรี่ ยี่ห้อนี้ดีนะ อยากทดลองดูบ้าง อีกข้อหนึ่งซึ่งเริ่มมีตัวอย่างให้เห็นในต่างประเทศ มาเป็นบทเรียนให้เรารู้เท่าทันคือในเมื่อเราโพสต์ในเรื่อง ความเสี่ยงด้านพฤติกรรม บริษัทประกันสุขภาพหลาย ๆ บริษัทที่เราส่งเบี้ยประกันอยู่ จะขยันเข้ามาเก็บความเสี่ยงด้านพฤติกรรม ที่ผลต่อโรคต่าง ๆ ที่ผู้เอาประกันทำไว้ ทำให้ไม่สามารถเคลมประกันที่ตนเองส่งไว้ หรือถูกบริษัทประกันสุขภาพยกเลิกกรมทัณฑ์ประกันชีวิตประเภทนั้น ๆ ไป เนื่องจากตนเองได้สร้างหลักฐานด้านความเสี่ยงต่าง ๆ และเปิดเผยต่อสาธารณะไว้โดยไม่รู้ตัว



5.อย่าลืมว่าเมื่อเราสร้างบัญชีผู้ใช้ เท่ากับว่าเราให้ Password Clues ไปโดยไม่รู้ตัว

ทุกครั้งที่เราสร้างบัญชีขึ้นใหม่ อย่าลืมว่าพาสเวิร์ดที่เราตั้ง มักจะมีตัวช่วยในการจำ บางครั้งการเลือกใช้ สื่อสังคมออนไลน์นั้นอาจต้องเลือกชุมชนที่มีความปลอดภัย ไว้เนื้อ เชื่อใจ เพราะพาสเวิร์ดหนึ่งอันที่เราสร้าง จะเป็นตัวคาดเดารหัสความปลอดภัยในธุรกรรมอื่น ๆ ที่ซับซ้อนกว่าของเราได้โดยไม่ยากเท่าไร ดังนั้นควรรู้จักเลือกและใช้อย่างมีวิจารณญาณ

6.ที่จอดรถหรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทำเป็นประจำไม่ควรมาเผยแพร่ไว้

แน่นอนภัยร้าย เกิดได้ตลอดแต่ถ้าเราลดแหล่งข้อมูลที่สื่อออกไปลงบ้าง ชีวิตเราจะปลอดภัยมากขึ้น ทุกอย่างที่เราโพสต์เท่ากับเราบอกนิสัยของเราเข้าไปในสื่อเหล่านี้ ผู้ติดตามสามารถเฝ้าดูกิจกรรมของเรา หากจะโจรกรรมทรัพย์สิน รถหรือของมีค่าต่าง ๆ สามารถระบุตำแหน่งที่อยู่ประจำได้ ซึ่งจะทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยที่เราอาจคลาดไม่ถึงทีเดียว บางครั้งปิดตัวเองในบางเรื่องหรือบางโอกาสก็จะสร้างความเป็นส่วนตัวและปลอดภัยมากขึ้น Charles Pavelites, ผู้ชำนาญการพิเศษของหน่วยงาน ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์จากอาชญากรรมทางอินเตอร์เนต ได้ยกตัวอย่างเช่น มีเด็กคนหนึ่งมักจะบอกว่า "แม่กำลังจะกลับบ้านแล้ว เดี๋ยวฉันจะต้องไปล้างจาน" มักจะบอกทุก ๆ วัน ในเวลาเดิมเสมอ มันเป็นการบอกเวลาที่ชัดเจนมาก เกี่ยวกับการเดินทางไปกลับของผุ้ปกครอง

7.นำเรื่องขององค์กร บริษัท ข้อมูลทางการเงินไปโพสต์ไว้ในสังคมออนไลน์

หากมีการโพสต์ บ่น เกี่ยวกับการทำงาน โดยไม่จำเป็น ต้องระวังนะครับ เพราะหัวหน้างาน และเพื่อนร่วมงานสามารถเข้าถึงข้อมูลของราได้จากการที่เราเพิ่มเพื่อนโดยไม่ระมัดระวัง เพราะความลับไม่มีในโลก ดังนั้นโพสต์เท่าที่จำเป็นจะปลอดภัยกว่า

8.ไม่ระบุชื่อบุตรหลาน ระบุภาพหรือติด tag ในรูปภาพมากเกินไป

อาจทำให้สามารถเข้าถึงญาติสนิทมิตรสหายส่วนตัวของคุณได้โดยง่าย อันสร้างความไม่ปลอดภัยขึ้นในครอบครัวโดยไม่ได้ตั้งใจได้ ลด tag ลงบ้างจะปลอดภัยกว่านะครับ



9.การตั้งความเป็นส่วนตัว และการปล่อยให้ Facebook ค้นหาพบคุณได้จำกัดลงบ้าง

เพื่อป้องกันคนแปลกหน้าเข้าถึงหน้าข้อมูลของคุณ ให้ไปที่การค้นหาของ Facebook ให้เข้าไปตั้งที่ข้อมูลส่วนตัวและเลือกเฉพาะเพื่อนเท่านั้น ดังนั้นเพื่อนเท่านั้นที่จะค้นพบข้อมูลดังกล่าวและให้มั่นใจว่ากล่องข้อมูลสาธารณะไม่ได้ระบุให้เข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้

10.ไม่ควรให้เด็กใช้ Facebook โดยไม่ตรวจสอบควบคุม

แม้ว่า Facebook จะไม่อนุญาตให้เด็กอายุต่ำกว่าสิบสามขวบหรือยังไม่ถึงเกณฑ์ใช้งาน แต่หลายครั้งเด็ก ๆ ก็ทำการปลอมอายุเข้าไปใช้ได้ ถ้าคุณมีเด็กหรือวัยรุ่นในความปกครอง หากควบคุมไม่ได้ การใช้ Facebook วิธีการที่ดีที่สุดในกรณีนี้คือ ใช้เพื่อการตรวจสอบและควบคุมที่ดี ก็คือการที่คุณเข้าร่วมเป็นสมาชิกในกลุ่มเพี่อนของเขา หรือให้ใช้ email ของคุณแทนในการติดต่อระหว่างบัญชีของเขา เพื่อที่คุณจะได้รับข้อความหรือตรวจสอบการใช้งานของบุตรหลานได้อย่างต่อเนื่อง
สิบข้อเหล่านี้เป็นปัญหาที่พบบ่อย ๆ และหยิบยกมาเตือนชุมชนเครื่อข่ายสังคมออนไลน์ที่นิยมกันใช้กันมากในปัจจุบัน หากเราจะรับเพื่อนเพิ่มขอให้เช็คเสียก่อนให้ดี ๆ ว่าเป็นกลุ่มเราหรือไม่ ไม่ใช่เพียงแค่รูปร่างหน้าตาดีก็เพิ่มเข้ามา อย่าลืมว่าทุกครั้งที่เราส่งข่าวหรือโพสต์ข้อความ พึงระลึกว่าความเป็นส่วนตัวของเราก็จะน้อยลง ๆ ทุก ๆ นาที


อาจารย์นายแพทย์ ศักดา อาจองค์, พบ, บธบ.
อาจารย์, ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
SAKDA ARJ-ONG, MD, BBA, MSc. In ICT
PHD program of clinical epidemiology,
Pediatrist, Pediatric Cardiologist & Intervention Ped.Cardiology
Family physicians, Emergency physicians.
Emergency Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University
http://www.ra.mahidol.ac.th

วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประวัติที่มาที่ไปของสัญญลักษณ์ที่เราพบบ่อย ๆ ในทางไอที

ที่มาที่ไปของสัญญลักษณ์ที่เราพบบ่อย ๆ ในทางไอที

จะมากล่าวถึงสัญญลักษณ์หลายอันที่เราใช้กันในชีวิตประจำวันในยุคที่ไอทีเข้ามามีบทบาทในชีวิตเราอย่างมากมาย ว่าเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์เหล่านี้นั้นมีที่มาที่ไปอย่างไรซึ่งคาดว่าหลาย ๆ คนอาจไม่ทราบ ทุกอย่างต้องมีที่มาที่ไปเสมอครับ ที่มาอาจจะเกิดจากการตั้งใจออกแบบเพื่อให้ใช้โดยตรง เกิดจาการหลีกหนีความจำเจที่พบอยู่ทุกวัน หรือมีที่มาโดยบังเอิญ หรืออาจไม่มีที่มาที่ไปเลยก็ได้ครับ ซึ่งต้องขอบอกที่มาบางอันอาจคาดไม่ถึงเลยทีเดียวครับ จะกล่าวให้เรารู้เป็นความรู้ทั่วไปสักห้าหรือหกสัญญลักษณ์เอาไว้เล่าหรือทายเพื่อน ๆ ร่วมงานหรือเอาไว้สอนเด็ก ๆ ในบ้านกันได้เลยนะครับ..

1.สัญญลักษณ์ Power.




สัญญลักษณ์นี้น่าขำที่ครั้งแรกเคยใช้เป็นสัญลักษณ์ของซองห่อถุงยางอนามัยของนิวยอร์ค (มีความหมาย คล้ายการมีพลังในการมีเพศสัมพันธุ์- as your power in bed symbol) หรือแม้กระทั่งถูกนำมาสกรีนบนเสื้อยืด และเมื่อนานมาแล้วในสมัยครั้งในสงครามโลกครั้งที่สองนั้น วิศวกรท่านหนึ่งเอามาใช้แทนปุ่มเปิดปิด สำหรับสวิทช์ ซึ่งสัญลักษณ์จะมี “ศูนย์”กับ”หนึ่ง”ซ้อนกันอยู่ หนึ่งหมายถึงเปิด ศูนย์หมายถึงปิด ปี 2516 องค์กรนานาชาติ International Electrotechnical Commission ได้ปรับเปลี่ยนสัญลักษณืนิดหน่อยโดยการทำให้วงกลมแยกออกและใส่เส้นไว้ข้างในดังรูป เป็นการบอกว่ามีการเปิดวงจรไฟฟ้าอยู่ (standby power state) และก็ใช้ต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน จนกระทั่ง IEEE (ไอ-ทริป-เปิ้ล-อี) ได้มาสร้างเป็นมาตรฐานสัญลักษณ์ดังในปัจจุบัน


2.สัญญลักษณ์ Command

สัญลักษณ์นี้มีที่มาตรงที่ถ้าเราพอนึกออกในสถานะของวินโดว์ ก็มีปุ่มคล้าย ๆ กันแบบนี้แต่เป็นปุ่มเครื่องหมายวินโดว์(บานหน้าต่างเล็ก ๆ) แทน เนื่องมาจากอีตาสตีฟ จ๊อบ ผุ้บริหารของ Mc Intoch แกเป็นโรคขี้เบื่อเครื่องหมายลูกแอ๊ปเปิ้ล เพราะแสนจะเยอะไปหมดในผลิตภัณฑ์ของเขา ทีมงานของเขาจึงได้เลือกเอาสัญลักษณ์ รูปของต้นไม้หรือพรรณพืช ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่เราเรียกว่า Gorgon loop หรือ infinite loop นั่นเอง ดังที่เราเห็นสัญลักษณ์คำสั่งนี้ (Command) บนเครื่องแมคอินท๊อชมาจวบจนถึงปัจจุบัน




3.สัญญลักษณ์ Bluetooth


ที่มาจากเรื่องเล่าในศตวรรษที่ 10 กษัตริย์ของเมืองแดนิส (Danish) ชื่อ Harald Blåtandนั้นมีชื่อเสียงและเชี่ยวชาญเกียวกับเรื่องของ blueberry ซึ่งไม่แน่ใจเหมือนกันว่าแกชอบกินหรือยังไงไม่ทราบเหมือนกัน แต่กล่าวกันว่าฟันอย่างน้อยซี่หนึ่งของเขามีสีน้ำเงินเคลือบติดแน่นอยู่ ก็ไม่รู้ว่าเอามาโยงกันยังไงเหมือนกัน แต่ที่รู้พอดีกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดนี้ได้เริ่มผลิตออกมา ซึ่งตอนแรกมีลักษณะคล้าย ๆ ซี่ของฟันจริง ๆ ("teeth-like" shape) และแถมเป็นสีน้ำเงินอีกด้วย พอช่วงหลัง ๆ อุปกรณ์ชนิดนี้ถูกวางมาตรฐานให้ใช้ได้ร่วมกันในหลาย ๆ ประเทศ ทั้งใน นอร์เวย์ สวีเดน และเดนมาร์ก จึงมีชื่อเรียกและใช้สัญลักษณ์ที่มองดูคล้าย ๆ รากฟันสีน้ำเงินมาจนถึงปัจจุบัน


4.สัญญลักษณ์ USB











เครื่องหมาย USB นั้นถ้าให้ทายกันคงคิดไม่ถึง แต่ก็เชื่อว่าทุกคนของบอกว่าช่างคิดจริง ๆ ลักษณะของสัญญลักษณ์ USB ถูกออกแบบให้คล้ายกับลักษณะของ สามง่ามของเทพโพไซดอน เสมือนการเชื่อมต่อได้หลาย ๆ ทาง ได้มีการพยายามออกแบบให้สื่อความหมายมากขึ้น โดยปลายต่อสามอันภายนอกเดิมจะเป็นปลายแหลม จึงได้ประยุกต์ออกแบบให้เป็นรูปแบบสามเหลี่ยมบ้าง สี่เหลี่ยมบ้าง วงกลม เพื่อการสื่อความหมายว่าสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ส่วนปลายได้หลาย ๆ มาตรฐานนั่นเองและยังคงใช้เป็นมาตรฐานมาถึงทุกวันนี้เช่นกัน


5.สัญญลักษณ์ Play/Pause




ไม่ใช่เครื่องหมายที่อยู่บนคีย์บอร์ดโดยตรง โดยปกติจะอยู่บนเครื่องเล่นมีเดียชนิดต่าง ๆ ในการเล่นไฟล์เสียงหรือวิดีโอ ส่วนเครื่องหมาย pause นั้นน่าสนใจเพราะได้แนวความคิดในการออกแบบมาจาก เครื่องหมายทางดนตรี (musical notation) ที่มีชื่อว่า caesura เป็นการบอกว่าหยุดชั่วขณะหนึ่ง

6.สัญญลักษณ์ @ (at)

At or Ah @, สัญลักษณ์ที่มาแรงแซงโค้ง เรียกว่าใครเล่นอินเตอร์เน๊ต มีอีเมลล์ต้องรู้จัก บางทีที่เครื่องหมายนี้รู้จักกันไปทั่วในเวลาสั้น ๆ อาจเป็นเพราะที่มาที่มีความไม่ชัดเจนของเครื่องหมายนี้เอง ซึ่งรู้จักกันหลาย ๆ ชื่อ หลาย ๆ ลักษณะ แตกต่างกันไปในหลาย ๆ ประเทศ เช่น ในประเทศอิตาลี ฝรั่งเศส เรียกสัญลักษณ์นี้ว่า the snail (หอยทาก), ในจีนเรียกว่า little mouse(หนู) และในเยอรมันเรียก monkey's tail (หางลิง) ซึ่งแล้วแต่ใครจะจินตนาการ บางคนเชื่อว่า @ เริ่มมีมาตั้งแต่ศตวรรษที่หก เมื่อพวกพระในอดีตสร้างคำว่า ad ในภาษาละติน (ซึ่งเป็นการบอกปี คริสตกาล) แต่ก็กลัวจะสับสนกับคำว่า "at" หรือ "toward" บางคนกล่าวว่าเป็นการออกแบบให้กับ Anno Domini หรือ ปีหลังการตายของพระเยซูคริสต์ (the years after the death of Christ).



อาจารย์นายแพทย์ ศักดา อาจองค์, พบ, บธบ.
SAKDA ARJ-ONG, MD, BBA, MS.ICT
PHD program of clinical epidemiology,
Pediatrist, Pediatric Cardiologist & Intervention Ped.Cardiology
Family physicians, Emergency physicians.
Emergency Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University

วันศุกร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2553

Note-O-Rama โน๊ตย่อชั้นเซียนสำหรับหนอนหนังสือที่ชอบอ่านบทความผ่านเว็บไซต์

ฉบับนี้ขอนำเสนอ Add-ons ในโปแกรมจิ้งจอกไฟ (Firefox Browser) สำหรับช่วยพวกเราในการอ่านและเก็บใจความสำคัญ โดยวิธีไฮไลต์เนื้อหา คล้ายเวลาเราอ่านหนังสือแล้วเอาปากกาสะท้อนแสงขีด เพื่อไว้ทบทวน แต่ Add-ons Note-O-Rama นั้น ต่อยอดให้อีกโดยสามารถ Extract เนื้อหาที่เรา Highlight ไปสร้างเป็นโน๊ตย่อให้ใหม่เพื่อให้ง่ายต่อการทบทวนภายหลัง ซึ่งสาวกจิ้งจอกไฟคงเฮ !!! เนื่องจากมี Add-ons ที่มีประโยชน์มาให้กันบ่อย ๆ ส่วนกลุ่ม IE Browser คงต้องรอไปก่อน แต่ไม่แน่ว่า IE 9 Browser ที่กำลังออกใหม่ อาจจะตอบโจทย์ข้อนี้ก็ได้ นะครับ

1) ขั้นต้นต้องเข้าใจก่อนว่า เราต้องใช้ Browser เป็น Firefox Browser เท่านั้น (สามารถไป download ได้ที่ link ใน: http://arjong.blogspot.com หรือที่ webside ของ firefox.com โดยตรงเลยก็ได้ครับ) หลังจาก download มาก็ลง install ตามขั้นตอนง่าย ๆ ตามที่โปรแกรมบอกขั้นตอนได้เลยครับ

2) สำหรับ Note-O-Rama นั้นเป็น Add-ons ของ FireFox Browser ครับ ในขณะนี้ ยังเป็น Experimental Add -ons โดยคนพัฒนาคือนาย Stephen butterfill ครับ โดยที่ไม่ได้เกี่ยวกับรามาธิบดีเราแต่ประการใด ทั้งที่ชื่อ คล้าย ๆ กัน แต่ก็สามารถใช้ได้ดีครับถึงจะเป็นขั้นทดลอง เราสามารถ Download ตามขั้นตอนดังนี้

รูป 1 : ไปที่เมนูของ FireFox ไปที่ Tools แล้วเลือก Add-ons

รูป 2 : ไปที่ Get Add-ons ค้นหา “Note-O-Rama” แล้วนั่งรอครับ

รูป 3 : เป็นรูปของนาย Stephen Butterfill คนที่พัฒนา Add-ons ตัวนี้

รูป 4 : นั่งรอมาพักใหญ่ ก็จะขึ้นมาให้แสดงให้เราเพิ่ม Add-ons เราก็ดูว่ามัน Compatible กับ FireFox เวอร์ชั่นไหนบ้าง และ Add-ons นี้ ยังเป็นขั้นทดลองแต่ก็ใช้ได้ดีทีเดียวเพราะพัฒนามาราว 5 ปี แล้ว ก็ click ที่ Let me install Experimental Add-on เท่านั้นมาจะเข้าไปเป็น Add-ons ของ FireFox Browser อัตโนมัติ

3) ขั้นต่อไปให้เข้าไปลงทะเบียนก่อน(ต้องต่ออินเตอร์เน็ต) เพื่อใช้เป็นที่เก็บแหล่งข้อมูลที่เราอ่านแล้วย่อไว้ โดยเข้าไปที่ http://notes.note-o-rama.com/signup แล้วทำการลงทะเบียนครับตามเงื่อนไขง่าย ๆ

รูป 5: หน้า Webpage ในตอนลงทะเบียน Register เพื่อใช้สร้างแหล่งเก็บข้อมูลย่อ

4) บน Sub-Menu Bar หลังเรา Add-ons สำเร็จจะเห็น edit tag ที่สามารถเพิ่มและเลือกสี Highlight ให้เราแยกหมวดหมู่ได้ แต่คนที่ขี้เกียจแยกก็อาจไม่ต้อง เพิ่มเข้าไปก็ได้ครับ เพราะอาจงง

รูป 6 : แสดงแถบ Highlight ของ Note-O-Rama และข้าง ๆ ที่เห็นคล้าย ๆ รูปปลั๊กสีเขียว คือสถานะแสดงการเชื่อมต่อออนไลต์ ซึ่งเป็นที่ Extract เนื้อความย่อยไปเก็บไว้

รูป 7 : แสดงให้เห็นแถบปลั๊ก เมื่อคลิ๊กจะแสดงสถานะยกเลิกการเชื่อมต่อเป็นปลั๊กสีแดงที่แยกออกจากกัน

5) หากเรามีหมวดหมู่เพิ่มที่ต้องการเพิ่ม ก็สามารถเพิ่มโดย edit tags เพิ่มเข้าไปโดยเราจะได้สี Highlight ใหม่เพิ่มขึ้นคราวนี้ก็แล้วแต่แล้วละครับว่าเราจะจัดแบ่งหมวดหมู่ของใครของมันกันอย่างไร

รูป 8 : เข้าไปที่เมนู Note-o-rama ที่ Tool bar แล้วคลิ๊กที่ Edit tags

รูป 9 : จะเห็น Pop-Up Window เล็ก ๆ ขึ้นมา เราก็กด Add เข้าไปในที่นี้ผมจะ Add หัวข้อ Other(อื่น ๆ) เข้าไป ดังภาพที่ 10
รูปที่ 10 : จะเห็นตามหมายเลขกำกับที่ (4) และเลือกสี (5) ถ้าวันหลังเปลี่ยนใจลบออกก็แค่กดเครื่องหมายกากบาทก็จะลบหมวดนั้นออกไปแล้วครับ

6) หลังจากนั้นก็เปิด Website ที่เราอ่านประจำ ผมเลือกเอาบทความจาก eMedicine เรื่อง โรคกลัวน้ำ(Rabies) มาอ่านเป็นตัวอย่าง
รูปที่ 11 : บทความ Rabie จาก e-medicine
7) ให้เราเลือกแถบสีหมวดหมู่ที่จะอ่านเอาใจความสำคัญและลากแถบสี Highlight ข้อมูลที่ต้องการจัดเก็บดังภาพที่ 12
รูปที่ 12 : แสดงการ Highlight ใจความสำคัญจนเสร็จหรือพอใจ

รูปที่ 13 : หากต้องการเพิ่มโน๊ตแบบ sticky ก็เพียงกด Double Clicks ไปยังข้อความที่ Highlight แต่ในเวอร์ชั่นเริ่มต้น ผมแนะนำให้ใช้ภาษาอังกฤษก่อน เพราะยังไม่เข้าใจภาษาไทย

8) ทำการ Extract ข้อมูลที่เราต้องการย่อไว้เข้าไปใน Source “Note-O-Rama” (สังเกตุปลั๊กต้องแสดงสถานะเชื่อมต่อ internet เรียบร้อย เป็นสีเขียวก่อน)

รูปที่ 14 : คลิ๊กที่แผง Go to my Quota เพื่อนำไปสู่การแสดงผลงานที่เราย่อไว้

9) หลังจากนั้น FireFox Browser จะเปิดหน้า Sources ของข้อมูลที่เราทำการอ่านย่อขึ้น
รูปที่ 15 : แสดงหน้ารวม หมวดข้อมูลและ link ของบทความที่อ่านอ้างอิงและย่อไว้หากต้องการดูก็ Click ที่ชื่อเรื่องเพื่อเข้าไปดูภายใน

10) ทำการบริหารจัดการข้อมูล ปรับแต่ง ชื่อเรื่อง คนเขียน บทความที่เราย่อไว้ ได้ทันทีโดยทำตามรูป (16-17)
รูปที่ 16 : บริหารจัดการบทความที่สร้างขึ้นโดย Double คลิ๊ก ที่แถบ “[edit]”

รูปที่ 17 : จะเห็นหัวข้อเรื่องปรับเปลี่ยนตามที่เราตั้งได้อย่างสอดคล้องและมี Link ของ Reference ให้ด้วย โดยสามารถ ย้อนกลับไปดูบทความที่เราป้ายสีไว้ได้ทันที


เนื้อหา ที่ย่อมา
"Rabies is a viral disease of the central nervous system (CNS); it is one of the oldest and most feared diseases reported in medical literature. Incidence of rabies is widespread throughout the world."
Information Technology พบมากในสัตว์หลายชนิด " human rabies in the United States has become very rare. However, with recent raccoon rabies epizootic in the United States and high transmissibility of the rabies virus by bats, a fear of reemergence of rabies in humans continues to exist"
  • In This Year, Thailand Report 8 cases that document definited diagnosis that diagnose as Rabies infection (sticky note)
Information Technology "bullet-shaped RNA viruses with an incubation period of 5 days to 1 year, with an average of 20-90 days"
Information Technology "genus Lyssavirus and the family Rhabdoviridae"
Information Technology "incubation period has been thought to be significantly longer than 1 year."
Information Technology "Susceptibility to infection appears to be related to several factors, including size of inoculum, size and depth of bite, and proximity to the CNS. "

รูปที่ 18 : หลังจาก double clicks ชื่อบทความ ก็จะแสดงตัวอย่าง เนื้อหาบทความที่เราย่อไว้โดยดึงเฉพาะส่วนสำคัญออกมา โดยส่วนที่เราเสริมความเห็นใน Sticky note จะเข้ามาด้วยในกรอบแดงอย่างที่แสดง (แต่ยังรองรับภาษาไทยไม่ดีมากนักสำหรับส่วน Sticky note นี้)

11) นอกจากนี้เราสามรถจัดหมวดหมู่โปรเจ็คภายในให้ง่ายต่อการดู ก็สามารถทำได้ดังนี้


รูปที่ 19 : ถ่าเราเป็นหนอนหนังสือที่อ่านหรือค้นข้อความผ่านเว็บไซด์เป็นประจำก็สามารถ จัดการตั้งหมวดหัวข้อใหญ่ ๆ เพื่อเก็บข้อมูลจากหลายแหล่งข้อมูลภายในได้โดยง่าย เช่น เราต้องการอ่านข้อมูลเกียวกับ Rabies หรือโรคกลัวน้ำ เพื่อมาทำรายงาน เราก็สามารถสร้างโปรเจ็ค Rables ใหม่ ขึ้นและ extract บทความที่อ่านย่อไว้ภายในภายหลังก็จะดูเป็นหมวดหมู่และมีระเบียบมากยิ่งขึ้น

เนื้อหาฉบับนี้ ก็เป็นการนำเครื่องมือในการอ่านเอาใจความสำคัญมาช่วยสำหรับหนอนหนังสือทั้งหลาย นักเรียนหรือนักวิชาการที่ต้องการอ่านเอาใจความสำคัญจากเนื้อหาในเว็บไซด์ที่มีนื่อหาอยู่ค่อนข้างมากมายในช่วงยุคที่สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ท่วมท้นนี้ นอกจากเป็นการลดโลกร้อนจากการลดการใช้กระดาษ แต่ยังไงเราก็ต้องรู้จักเลือกแหล่งอ้างอิงที่มาที่น่าชื่อถือได้ควบคู่กันไปด้วยนะครับ

อาจารย์นายแพทย์ ศักดา อาจองค์, พบ, บธบ.
SAKDA ARJ-ONG, MD, BBA, MSc. In ICT
PHD program of clinical epidemiology,
Pediatrist, Pediatric Cardiologist & Intervention Ped.Cardiology
Family physicians, Emergency physicians.
Emergency Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University

Reference

1.note-o-rama : note - quote - analyse [Internet]. [cited 2010 Mar 19];Available from: http://www.note-o-rama.com/


2.Merlin MA. Rabies: eMedicine Emergency Medicine. 2009 May 11 [cited 2010 Mar 19];Available from: http://emedicine.medscape.com/article/785543-overview

3.ศักดา อาจองค์ . DR.SAKDA'S HEALTH ADVOCACY BLOG [Internet]. [cited 2010 Mar 19];Available from: http://arjong.blogspot.com/

วันอาทิตย์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2553

Error หรือความคลาดเคลื่อนในงานวิจัย

Error หรือความคลาดเคลื่อนในงานวิจัย พบได้บ่อย ๆ สาเหตุถ้าจะแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ มักจะนึกถึงได้เป็นสองกลุ่มคือ Random error(chance) และ Systematic error(Bias) ซึ่งการเกิดความ คลาดเคลื่อนโดย chance เป็นสิ่งที่ป้องกันได้ยาก แต่ก็สามารถทำให้ลดลงได้, ส่วนความคลาดเคลื่อนโดย Bias อาจสามารถป้องกันได้โดยการออกแบบงานวิจัย หรือ methodology ที่ดี สองข้อนี้ส่วนใหญ่เราจะนึกถึงก่อน แต่ในความเป็นจริงแล้วยังมีอีกสองปัจจัยที่สำคัญ ก็คือ ตัวกวน(Confounder) และ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่นำมาศึกษา(Interaction)

ดังนั้นเมื่อเราเห็นผลงานวิจัยให้นึกถึง Key words "CBCI" นำมามองว่าผลลัพธ์จากงานวิจัยนั้นน่าเชื่อถือเพียงใด
ดังนั้นเราต้องมองปัจจัยสำคัญ 4 อย่าง ดังนี้ ว่างานวิจัยที่เรากำลังหยิบมาใช้นั้นมีผลจากสิ่งเหล่านี้หรือไม่ มากน้อยเพียงใด

C : Chance ?
B : Bias ?
C : Confounding ?
i : Interaction ?


mnemonics "CBCI" นี้ก็จะช่วยเราให้นึกถึงและพิจารณาว่างานวิจัยนั้น ๆ น่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด

1.Random Error(Chance):

มักเกิดจาก Small sample size, high variation in sample ที่เลือกมา,One time measurement (การวัดครั้งเดียว), การวัดที่เชื่อถือไม่ได้หรือไม่มี callibration ที่ดี(Unreliable measurement), มีหลายตัววัดที่ต้องเก็บพร้อม ๆ กัน หรือเก็บมากเกินความจำเป็น(too many measurements), รวมถึงการวัดที่ไม่มีมาตรฐาน(non standard measurement)

การป้องกัน:
1. กำหนดจำนวน Sample size ที่มีขนาดใหญ่พอ ที่จะให้ผลที่มีความสำคัญทางนัยสำคัญทางสถิติหรือทางคลินิก
2. การวัดควรให้ได้มาตรฐาน ถูกต้อง เที่ยงตรง
3. การมี standard protocol ในการวัดหากผู้ป่วยในงานวิจัยเป็นกลุ่มที่มี variation ค่อนข้างมาก
4. การเก็บข้อมูลควรให้สอดคล้องตรงกับ Prognostic factors ที่ต้องการเก็บ
5. ควรเลือกกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเป็น Homogenous กัน มากกว่ามี variation มาก ๆ ในกลุ่มศึกษา
6. ควรเลือก วางแผน ขั้นตอน รวมถึงการออกแบบงานวิจัยที่ดี

2.Systematic Error(Bias) :

ว่าด้วย อคติ(bias) ในงานวิจัย เวลาเราตีความหรืออ่านบทความวิชาการ อย่างเป็นระบบแล้วถ้าให้ดี ก็ควรจะตั้งมั่นว่างานวิจัยนั้นมีโอกาสเป็นไปได้หรือไม่ ? ไว้ก่อน โดยคำนึงถึงข้อจำกัดหลาย ๆ ข้อในการดำเนินงานวิจัย และที่สำคัญ ก็คือ Bias นั้นเอง เพราะหากงานวิจัยนั้นรายงานผลออกมาโดยมีอคติ หรือ ความลำเอียง " bias " มากจนเรายอมรับไม่ได้นั้น นั่นถึงผลที่ตีความออกมาอาจไม่สามารถนำไปใช้ในผู้ป่วยจริง หรือ สถาณการณ์จริงได้เลย เพราะเราจะขาดความมั่นใจในการนำผลนั้นไปใช้



คำว่า Bias นั้นคำในภาษาอังกฤษนั้นอธิบายได้ดีว่า " Bias is a systemic tendency of any factors that associated with design, conduct, anaylysis and interpretation of the results of study to make the estimate of effect deviate from it trues value "

ตัวอย่างของ Bias ที่พบบ่อยได้แก่ :

1. Selection Bias
2.Berkson Bias( admission bias, hospital admission bias)
3.Ascertainment Bias
4.Health worker effect
5.Volunteer Bias
6.Non-Response Bias
7.Information Bias( eg. observer bias, Recall bias, reporting bias)
8.Ecological Bias
9.Confounding Bias
10.Spectrum Bias
11.Post Hoc Analysis Bias
12.Sub-Group Analysis Bias
13.Publication Bias

ซึ่งมีมากมาย ที่ยกมาเป็นเพียงตัวอย่างที่เราคำนึงถึงบ่อย ๆ คราวนี้หลายคนคงมองว่ามันเยอะขนาดนี้เราจะป้องกันไม่ให้มันเกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะถ้าไม่สามารถตอบได้การดำเนินงานวิจัยนั้น ๆ คงไม่มีประโยชน์

3.Confounder :


4.Interaction :

.....(ยังมีต่อ)

วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2553

หัวใจสำคัญ 3 ข้อ ที่ต้องคำนึงถึงในการทำ Random Allocation ในการศึกษาแบบ RCT

หัวใจสำคัญ ที่ต้องคำนึงถึงในการทำ Random Allocation ในการศึกษาแบบ RCT นั้นมีที่เราต้องเน้นหลัก สามข้อ ที่ถือว่า ต้องคำนึงถึงหรือเป็นหัวใจสำคัญ

๑) อคติ หรือไบแอส(potential bias) ในการเลือกผู้ป่วยเข้ามาในการศึกษาอย่างไม่มีอคคติ หรือความลำเอียงในการเลือกเข้ามานั่นเอง นั่นหมายถึงถ้าเราทำการ allocate ผู้ป่วยเข้ามาอย่างไม่มีความลำเอียง และเป็นธรรม ส่งผลให้เกิดการกระจายตัวของตัวอย่างที่จะทำการศึกษาอย่างเท่าเทียมกันในทั้งสองกลุ่ม (equally chance) คือ กลุ่มที่ได้รับการรักษา และกลุ่มที่ควบคุม จะส่งผลให้ผลลัพธ์ที่ได้จากการศึกษานั้นมีความน่าเชื่อถือมากที่สุด

๒) Baseline characterisitic (ข้อมูลพื้นฐาน) ของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มนั้นก็มีความสำคัญอย่างมาก ซึ่งบางครั้งแพทย์หรือนักวิจัยหลาย ๆ คน ลืมนึกถึงไป หากข้อมูลของ baseline characteristic ของกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษามีความใกล้เคีบงกันมาก หรือไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญแล้ว จะเป็นการช่วยลดตัวกวนไปในตัวนั่นเอง(potential confounders) ดังนั้นถ้าเรามองให้ดี ๆ จะเห็นว่าการทำ randomization หรือ random allocation นั้นจะเป็นตัวช่วยกระจายให้ตัวกวนในกลุ่มประชากรที่ศึกษากระจายตัวไปอย่างเท่าเทียมกัน โดยเฉพาะหากขนาดของตัวอย่างการศึกษาที่มีขนาดพอเพียง

๓) Sample Size ขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ต้องมีขนาดพอเพียงที่จะทำให้เกิดความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ มีโอกาสมากที่สุดต่อการให้ผลลัพธ์ที่มีความถูกต้องเที่ยงตรง เสียก่อนที่จะนำมาทำการ allocation ผู้ป่วย ออกเป็นสองกลุ่ม

อาจารย์นายแพทย์ ศักดา อาจองค์, พบ, บธบ.
SAKDA ARJ-ONG, MD, BBA, MS.ICT
PHD program of clinical epidemiology,
Pediatrist, Pediatric Cardiologist & Intervention Ped.Cardiology
Family physicians, Emergency physicians.
Certificates in Pediatric Emergency Medicine,
Emergency Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University

เหตุผลว่าทำไม ผลการรักษาที่วัดหรือจัดเก็บในงานวิจัย ถึงได้ผลดีเกินคาด

การวิจัยในการให้การรักษาผู้ป่วยนั้นบางครั้งพบว่ายิ่งเก็บผลลัพธ์ไปเรื่อย กลับรู้สึกว่าผลการรักษษ เอ ! ทำไมถึงดีขึ้นเรื่อย ๆ มีเหตุผลหลายข้อชวนให้คิดถึงดังนี้ครับ

๑) เป็นผลจากการรักษาที่ให้ผลดีจริง ๆ อันนี้มีโอกาสเกิดได้ครับถ้ายาหรือ intervention ที่เรานำมาใช้ในการรักษาให้ผลที่ดีขึ้นจริง ๆ เช่น ยาลดความดันตัวใหม่ทำให้ความดันลดลง การนำขบวนกาารรักษาชนิดใหม่มาใช้ส่งผลให้อัตราการตายในกลุ่มคนไข้ที่เราสนใจลดลง
๒) เป็นผลที่เกิดขึ้นจากการวัดซ้ำหลาย ๆ ครั้ง ซึ่งมักเกิดขึ้น เราเรียกว่า regression to the mean โดยจะสังเกตว่าค่าที่วัดได้หลัง ๆ จะดี หรือให้ค่าต่ำลง
๓) เป็นผลจาก natural history ของโรคเองที่ต้องดีขึ้น เช่น viral diarrhea มีการใช้ยาบางกลุ่มมาใช้ในการรักษาแต่อย่าลืมว่าการดำเนินอาการของโรคอาจดีขึ้นได้เองและแตกต่างกันไปในแต่ละคนโดยที่ไม่ได้เป็นผลจากยาโดยตรง
๔) เป็นผลมาจาก Hawthorne effect เป็นการที่รู้สึกดีขึ้นเองโดยไม่ได้เป็นผลจากยาหรือ intervention ในการรักษาแต่เป็นผลอ้อม ๆ ที่ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้นจากการที่ได้รับการดูแลทางการแพทย์
๕) เป็นผลจากยาหลอก หรือ placebo effect ยาหลอกก็ทำให้รู้สึกว่าได้รับกาารรักษา บางครั้งการวัดผลที่เป็นแบบ subjective measurement ผู้ป่วยจะให้คะแนนว่าดีขึ้นเพราะความรู้สึกว่าได้รับการรักษาทั้งที่จริง ๆ แล้ว ยาไม่ช่วยอะไรเลย


อาจารย์นายแพทย์ ศักดา อาจองค์, พบ, บธบ.
SAKDA ARJ-ONG, MD, BBA, MS.ICT
PHD program of clinical epidemiology,
Pediatrist, Pediatric Cardiologist & Intervention Ped.Cardiology
Family physicians, Emergency physicians.
Certificates in Pediatric Emergency Medicine,
Emergency Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University

วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ว่ากันด้วย Gadget สำหรับมือถือ....กับเจลลี่เลนส์..ใช้แก้เบื่อ

ฉบับที่แล้วหลายคนบอกว่าบทความได้ประโยชน์มากแต่เนื้อหาหนักไปนิด ฉบับนี้ก็เลยขอเบาสมองหน่อยแล้วกัน บทความนี้เราจะมาว่ากันด้วยเรื่อง Gadget ซึ่งหลาย ๆ คนคงได้ยินผ่าน ๆ หูมา แต่ เอ !! มันคืออะไรกัน Gadget เป็นคำนาม อ่านออกเสียงว่า แกด-จิท แปลว่าของประกอบกระจุกกระจิก หรือความหมายพ้องกับคำว่า Device (เครื่องมือ) นั่นเอง Gadget นั้นนำมาใช้ร่วมกับเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ นั้นมีมากมาย เช่น สำหรับ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ laptop หรือมือถือก็มีครับ วันนี้เราจะพูดถึงเรื่องเบา ๆ ของ Gadget ที่มามีส่วนช่วยในการถ่ายภาพของมือถือให้เกิดมุมมองใหม่ ๆ แก้เบื่อเวลาที่ว่างๆ ครับ โดย gadgets นี้ถือว่าเป็นของเล่นเสริม ที่สนนราคาไม่แพง แต่ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์เสริม เพิ่มเติมเข้าไปด้วย ซึ่งราคาตก 99 บาท ต่อชิ้น โดย gadget ชิ้นนี้เรียกว่า Jelly Len (เลนส์วุ้น) ครับ ซึ่งก็ประยุกต์มาจากกล้องถ่ายรูปโดยใช้ความเหนียวหนืดของวุ้นรอบ ๆ นำไปติดกับหน้ากล้อง โดยชนิดเลนส์นั้นมีการออกแบบให้มีหลาย ๆ รูปแบบ ทั้งชนิดแบบ Close Up Jelly Len (ใช้ถ่ายใกล้) Wide angle Jelly Len (ถ่ายแบบมุมกว้าง ๆ) และ Spark Jelly Len (ใช้ถ่ายไฟให้เป็นประกายแฉก)

1.1.อุปกรณ์พื้นฐาน ต้องอาศัย

1.1.1 มือถือยี่ห้ออะไรก็ได้ที่ถ่ายรูปได้ หรือจะใช้ประกบกับหน้า webcam หรืออะไรก็ได้ที่เป็นกล้องขนาดเล็ก ในที่นี้จะใช้ IPhone กับ TWZ(Backberry รุ่นเลียนแบบ) มาเป็นแบบ

1.1.2 ชุดเลนส์ Jelly อาจใช้ของ ASAKI มีขายที่ 7-eleven ในราคาอันละ 99 บาท(ไม่ได้โฆษณานะครับ) ดังภาพด้านล่าง



ภาพที่ 1 แสดง Jelly Lens ชนิด wide angle, spark และ close up ตามลำดับ



ภาพที่ 2 แสดงชนิดเลนส์ ตัวเลนส์ และ jelly ที่เป็นจุดเชื่อมต่อเข้ากับหน้ากล้องมือถือ ตามลำดับ

1.1.3 เวลาว่าง ๆ บวก แนวอารมณ์หรือความคิดสร้างสรรค์ บวกมุมมองเชิงศิลป์

1.2 วิธีการ นั้นไม่ยาก ทำโดยการเอา Jelly Lens ด้านที่มีลักษณะนิ่ม ๆ เหนียว ๆ คล้ายเจลลี่นั้นมาติดให้สนิทกับด้านหน้ากล้องถ่ายรูปของโทรศัพท์มือถือดังรูป เท่านี้ก็เป็นอันพร้อมใช้แล้วครับ




1.3 ถ้าพร้อมแล้ว ลุยถ่ายกันได้เลยครับ แล้วแต่ใจชอบแล้วแต่ความคิดสร้างสรรค์ของแต้ละบุคคล


1.4 เป็นภาพถ่ายตัวอย่างจากชุด Jelly Len ครับ

1.4.1 Jelly Wide Angle Len (รูป W14-w18) จะแสดงภาพเป็นแบบซูมแบบ wide angle ที่ให้มุมมองแปลกดีครับ



1.4.2 Jelly Close Up Len ( รูป C19-23) อันนี้สำหรับแพทย์สามารถถ่ายภาพ skin lesion ได้ชัดเจนมากครับ




1.5 Jelly Star len ( รูป S24-27) เลนส์นี้จะช่วยเพิ่มความสวยงามของแสงยามค่ำคืน ให้ได้รูปที่ไม่ซ้ำซากจำเจครับ



เห็นไหมครับ เราสามารถลายเป็นช่างภาพกึ่งมืออาชีพได้โดยไม่ยาก ซ้ำยังสามารถใช้เวลาว่าง ๆ กับความคิดสร้างสรรค์ นำมาฆ่าเวลาในช่วงเบื่อ ๆ หรือรอทำอะไรบางอย่าง ทำให้เราสนุกสนานไปกับวันที่น่าเบื่อในบางครั้งได้ดีทีเดียวครับ หรือใครจะนำไปประยุกต์ใช้เก๋ ๆ กับเทศกาลเดือนแห่งความรักนี้นี้ ขอให้ทุกคนสุขสันต์กับเดือนแห่งความรักนะครับ

อาจารย์นายแพทย์ ศักดา อาจองค์, พบ, บธบ.
SAKDA ARJ-ONG, MD, BBA, MS.ICT
PHD program of clinical epidemiology,
Pediatrist, Pediatric Cardiologist & Intervention Ped.Cardiology
Family physicians, Emergency physicians.
Certificates in Pediatric Emergency Medicine,
Emergency Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University